หนังสือสาร์นจากต่างดาว

Bestseller Britney Spear Midnight

Bestseller Britney Spear Midnight
น้ำหอมแบรนด์เนม ของแท้ 100% ถูกที่สุด

ร้านขายสตาร์วอร์


วิธีหาเงินเพิ่มรายได้

บล็อกเพื่อนบ้าน

# KonClip.com : ดู ละคร ย้อนหลัง,ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 9, ช่อง 11, TPBS, TV Online, คลิปผี

เช็ครายการอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมเพื่อเอาชีวิตรอดในภัยพิบัติ

วันอังคาร, พฤษภาคม 03, 2554

เช็ครายการอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมเพื่อเอาชีวิตรอดในภัยพิบัติ


ให้แบ่งกระเป๋าออกเป็น 3 ใบ ทุกคนควรเตรียมกระเป๋าทั้ง 3 ใบนี้
ไว้ตลอดระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2555 - 2560) เราไม่รู้ว่าอาจจะต้องอพยพ
หรือย้ายที่หลบภัยเมื่อไหร่ แต่ต้องเตรียมพร้อมที่จะขนสัมภาระขึ้นรถ
เดินทางได้ทันทีภายใน 1 - 2 ชั่วโมงหลังจากที่ทราบข่าวว่าจะเกิดภัยพิบัติ
ในเขตที่เราอาศัยอยู่ แต่อาจไม่มีการเตือนภัยก็ได้ เสบียงที่เตรียมไว้และ
อุปกรณ์นั้นไม่แน่ว่าอาจจะได้ใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - 2556 หรืออาจต้อง
ใช้ในช่วงสุดท้ายของภัยพิบัติคือปี พ.ศ. 2560 ทุกคนควรมีกระเป๋า
สัมภาระส่วนตัวไว้เพราะหากผลัดหลงกันกับกลุ่มจะได้ไม่ลำบาก เผื่อทำ
กระเป๋าหายหรือตกน้ำก็ยังพออาศัยของคนที่เหลือในกลุ่มได้บ้าง ตรวจเช็ค
สิ่งที่เตรียมไว้เสมอ หากใกล้หมดอายุให้นำออกมาใช้และหาของใหม่มา
ทดแทน

1. กระเป๋าใบแรก ใบเล็กคาดเอว ติดตัวเสมอยามภัยพิบัติแม้ในเวลานอน
เผื่อกรณีฉุกเฉิน เช่น มีน้ำป่าหลากหรือน้ำท่วมฉับพลันซึ่งมักเกิดขณะนอน
หลับ หรืออาจผลัดตกน้ำขณะเผลอ ถ้าคว้าเป้สัมภาระไม่ทันอย่างน้อยก็ยัง
มีอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวอยู่บ้าง ควรมีกระเป๋าชุดสำรองอีก 1 ชุดไว้ท้ายรถ
หรือในที่ทำงานด้วยเพราะไม่แน่ว่าอาจไม่มีโอกาสกลับไปเอาที่บ้าน
1.1 มีด มีดเป็นอุปกรณ์สำคัญ ควรมีมีดพับเอนกประสงค์หรือมีดพกที่คม
แข็งแรงไว้ใจได้ มีดพับเอนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้เยอะกว่ามีดธรรมดา
มีดพับเอนกประสงค์ของสวิสหรือที่เรียกว่ามีดสวิส ราคาประมาณ 1 พัน
บาทขึ้นไป ซื้อจากร้านทั่วไปหรือตามเว็บไซต์ถูกกว่าในห้าง มีดพับราคา
ถูกอันละไม่ถึง 100 บาทก็มี แต่ต้องทดสอบคุณภาพและความทนทานให้ดี
มีดพับเอนกประสงค์ควรมีใบเลื่อยด้วย หรือซื้อเลื่อยที่เป็นเส้นลวดต่างหาก
มีขายตามร้านขายอุปกรณ์เดินป่า ลองถามดูหลายๆร้าน ถ้าจะประหยัดก็แค่
มีดทำครัวเล็กๆแบบมีปลอกซ่อนคมสักเล่ม ถ้าเคยดูภาพยนตร์เรื่อง Cast
Away หรือหนังสารคดี Man vs. Wild จะเห็นเลยว่ามีดเป็นอุปกรณ์ที่
จำเป็นมาก ถ้าไม่มีมีดก็ต้องหาเปลือกหอย กระดูกสัตว์ หรือก้อนหินเอามา
ทุบหรือกะเทาะให้คม

1.2 แท่งหินจุดไฟ ไฟเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แท่งหินจุดไฟดีกว่าไฟแช็คตรงที่
แม้จะตกน้ำก็ยังใช้ได้ ไม่ต้องกลัวน้ำมันหรือแก๊สในไฟแช๊คจะหมดแต่จะ
จุดยากกว่าถ้าไม่เคยใช้งานมาก่อน ลองดูวิดีโอวิธีการใช้แท่งหินจุดไฟใน
สารคดี Man vs. Wild หรือในเว็บไซต์ Youtube ราคาประมาณ 300 บาท
แต่ควรมีไฟแช็คติดกระเป๋าเผื่อไว้ด้วย ไม่แนะนำไม้ขีดไฟเพราะถ้าชื้นหรือ

เปียกน้ำก็ใช้ไม่ได้แล้ว การจุดไฟและเลี้ยงไฟเป็นทักษะพื้นฐานในการอยู่
รอด ไฟให้แสงสว่างและความอบอุ่นในยามที่อากาศหนาวจัดและป้องกัน
สัตว์ร้ายบางชนิดได้ แต่ไฟแย่งออกซิเจนต้องระวังอย่าจุดไฟในที่อากาศไม่
ถ่ายเท ก่อนจุดไฟขอให้แน่ใจว่าไม่มีแก๊ซรั่ว ถ้ามีที่หลบภัยแล้วอย่าลืมนึก
ถึงฟืนหรือเชื้อไฟสำหรับก่อไฟด้วย ลองหาความรู้เกี่ยวกับการก่อไฟแบบ
ต่างๆ เช่น การก่อไฟขณะฝนตก การก่อไฟให้มีควันเยอะๆ เพื่อส่ง
สัญญาณควัน

1.3 กระติกน้ำและหม้อสนาม เป็นอุปกรณ์ที่ทหารและนักเดินป่าใช้ ราคา
ประมาณ 500 บาท หาได้ตามร้านขายอุปกรณ์เดินป่าและตามเว็บไซต์
ในช่วงภัยพิบัตินั้นแหล่งน้ำบนดินตามธรรมชาติอาจปนเปื้อนสารพิษและมี
เชื้อโรคที่ทำให้ท้องร่วงอย่างรุนแรง ควรหาน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินและจาก
พืช ควรกรองและต้มน้ำก่อนดื่มทุกครั้ง

1.4 เครื่องกรองน้ำแบบพกพา เดี๋ยวนี้มีแบบหลอดซึ่งมีขนาดเล็กและเบา
สามารถกรองเชื้อโรคได้ด้วย ลองหาซื้อตามร้านขายอุปกรณ์เดินป่า ราคา
ประมาณ 500 บาทขึ้นไป ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีไว้พกติดตัวคู่กับกระติกน้ำ
และหม้อสนาม แต่ถ้าพกไม่สะดวกก็ใส่ไว้ในเป้สะพายหลัง

1.5 เข็มทิศ เอาน้ำหนักเบา แต่ถ้าเล็กเกินไปไม่ดี ต้องเขย่าไล่ฟองอากาศ
ก่อนใช้ เข็มทิศบางรุ่นสามารถบอกอุณหภูมิได้ด้วย แต่ในช่วงภัยพิบัติเข็ม
ทิศอาจใช้ไม่ได้ถ้าสนามแม่เหล็กมีความผิดปกติ อาจต้องหาความรู้เกี่ยวกับ
การหาทิศจากธรรมชาติและการหาดาวเหนือไว้ด้วย

1.6 แผนที่ แผนที่ทางหลวง แผนที่ทั่วประเทศ แผนที่จังหวัดที่อยู่ปัจจุบัน
แผนที่จังหวัดที่วางแผนว่าจะอพยพไป เลือกแผนที่ซึ่งระบุความสูงของ
พื้นที่ด้วย จะได้รู้ว่าที่ไหนเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำจากระดับน้ำทะเลมากน้อย
แค่ไหน ราคาประมาณฉบับละ 100 บาท ต้องมีเข็มทิศไว้ใช้ประกอบกัน

1.7 ไฟฉายที่ไม่ต้องใช้ถ่าน เป็นแบบที่ใช้มือหมุนเพื่อชาร์จไฟเก็บไว้ อัน
เล็กพกสะดวกราคาประมาณ 100 บาทขึ้นไป ไฟฉายแบบนี้ดีที่ไม่ต้อง
กังวลว่าถ่านหรือแบตเตอรี่จะหมด แต่แนะนำให้มีไฟฉายแบบที่ใช้ถ่านติด
ไว้ด้วยเผื่อกรณีฉุกเฉินต้องใช้รีบด่วน เช่น ต้องวิ่งหนีน้ำแล้วจะต้องมามัว
นั่งหมุนคงไม่ทันการณ์ เตรียมถ่านสำรองด้วย ควรเลือกถ่านแบบที่หา
เปลี่ยนง่ายๆ ถ่านก้อนจิ๋วอาจหาซื้อยากในต่างจังหวัด ไฟฉายแบบที่คาดหัว
ก็ดีเพราะทำให้มือทั้งสองข้างของเราว่าง หรืออาจดัดแปลงไฟฉายที่มีอยู่ให้
คาดหัวได้ แสงสว่างเป็นเครื่องให้ความอุ่นใจที่ดีในยามที่โลกอาจมืดมิด
ติดต่อกันนานหลายวันหลายเดือน ไฟฉายแบบตั้งโต๊ะเหมาะสำหรับการ
รวมกลุ่ม สภาพจิตอาจไม่ค่อยดีหากต้องอยู่ในที่มืดนานๆ ดังเช่นกรณีคนที่
ติดในเหมืองต้องอยู่ในที่มืดนานกว่า 2 เดือน ไฟฉายแบบอันใหญ่ๆสว่างดี
แต่เทอะทะไม่คล่องตัว ถ้าจะประหยัดก็เอาไฟฉายที่มีอยู่ไม่ต้องซื้อใหม่แต่
เตรียมถ่านสำรองไว้เปลี่ยนด้วย ไฟฉายควรกันน้ำหรือใส่ถุงพลาสติกใสไว้
เพื่อกันน้ำ

1.8 นกหวีด สำหรับเป่าขอความช่วยเหลือ นกหวีดยี่ห้อดีๆอาจมีราคาสูงถึง
ตัวละ 200 กว่าบาท แต่เสียงจะดังไปไกลมาก ใช้แรงเป่าน้อยแต่เสียงดัง
ดีกว่าตะโกน นกหวีดที่ดีจะเป่าให้มีเสียงได้แม้มันเปียกน้ำ

1.9 กระจกเงา สะท้อนแสงเพื่อส่งสัญญาณความช่วยเหลือ สะท้อนแสงให้
เห็นแต่ไกลแม้คนบนเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ของหน่วยกู้ภัย ใช้กระจก
เงาธรรมดาหรือจะซื้อกระจกที่ทำไว้โดยเฉพาะก็ได้ อาจประยุกต์ใช้สิ่งของ
ที่เงาวาวเพื่อสะท้อนแสง เช่น มีด แผ่นซีดี เงาสะท้อนบนบัตร ATM

1.10 ชุดชูชีพ เพื่อการลอยตัวในน้ำแม้ว่าจะว่ายน้ำคล่องก็ต้องมีไว้ เพราะ
อาจต้องลอยคอและรอคอยความช่วยเหลือเป็นเวลานาน ในช่วงวิกฤติอาจ
ต้องใส่นอนเพราะน้ำท่วมฉับพลันอาจเกิดขึ้นในขณะกำลังนอนหลับ ราคา
ประมาณ 400 - 500 บาท ถ้ามีเรือเตรียมไว้ด้วยยิ่งดี ราคาประมาณ 3,000
บาทขึ้นไป ปัญหาเมื่อมีภัยน้ำท่วมคือออกไปขอความช่วยเหลือไม่ได้

1.11 มีดใหญ่ (มีดเดินป่า) และอาวุธป้องกันตัว เช่น หอก ปืน ธนูหน้าไม้
แต่ไม่แนะนำเครื่องช๊อตไฟฟ้า เพราะต้องรู้วิธีช๊อตให้ถูกจุดในร่างกายจึง
ได้ผลและต้องใช้ระยะประชิดตัว ใช้สเปรย์พริกไทยจะดีกว่า อาวุธมีไว้
เพื่อป้องกันไม่ใช่เพื่อขู่ ถ้าใช้ขู่ระวังจะโดนแย่ง ป้องกันตัวแล้วหนีไม่ใช่มี
ไว้ลุยสู้เพื่อฆ่าชีวิตเป็นการเบียดเบียนกัน หากโดนสเปรย์พริกไทยให้ใช้
ของเหลวที่มีไขมัน เช่น นมชนิดไม่พร่องมันเนยล้างหน้า มีดใหญ่มีไว้
ป้องกันภัยและใช้ผ่าฟืน ถ้ามีปืนและลูกกระสุนไว้ป้องกันตัวด้วยจะดีมาก

1.12 ไม้ยาวๆสักอันมีประโยชน์มาก เช่น ใช้เอาไว้ไล่งู ขู่หมา ผูกกับมีดก็
จะกลายเป็นหอก ใช้พยุงตัว ทำคานหามสัมภาระ แขวนหม้อสนามเวลาหุง
ข้าว ทำราวตากผ้า ใช้เกาะแทนเชือกได้ในบางกรณี เวลาช่วยคนจมน้ำต้อง
ใช้อุปกรณ์ เช่น โยนเชือกให้หรือยื่นไม้ให้เขาจับ อย่าเอาตัวเราเข้าไปให้จับ
เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิต ใช้ไม้หยั่งพื้นเวลาลุยน้ำดูว่าน้ำตื้นหรือลึก ใต้น้ำ
อาจมีหลุมหรือท่อ บางครั้งพื้นดินที่อยู่ใต้น้ำอาจทรุดตัวลงเป็นหลุม

1.13 กล้องส่องทางไกล อาจไม่จำเป็นแต่ถ้ามีจะดีมากเพราะช่วยให้เราได้รู้
สถานการณ์รอบๆที่หลบภัยและในพื้นที่ไกลๆว่าทางข้างหน้ามีอันตรายจาก
ภัยธรรมชาติหรือภัยจากคนร้ายที่ดักซุ่มรอปล้นชิงหรือไม่ ราคาประมาณ
2,000 บาทขึ้นไป

1.14 พระเครื่องหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นกำลังใจ พระเครื่องนำมาแช่ในน้ำ
สวดมนต์ขอพึ่งบารมีพระพุทธเจ้าเพื่อทำน้ำมนต์ขับไล่โรคภัยความเจ็บป่วย
และสิ่งชั่วร้าย แนะนำพระที่สร้างโดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำหรือตามที่เชื่อถือ
ศรัทธา ในพุทธทำนายให้เขียนอักษรพระคาถาลงบนผ้าขาวว่า " หิตะชิรา
ทัน มันกะโลอังคะ ศิลากะละสา สาสะสะติ โหตะถิ โหคะหะคะเน " ใช้ติด
ไว้ที่หน้าบ้าน หัวนอน พันศีรษะ ในยามคับขันคนที่รอดมักเป็นคนที่มีสติ
และมีกำลังใจดี ในเรื่องพระมหาชนกท่านมีสติ ไม่ร้องไห้ ไม่คร่ำครวญ
ท่านมีความเพียรและทรงสมาทานศีล 8 ในวันพระ แม้ในขณะว่ายน้ำอยู่
ในมหาสมุทร จนกระทั่งเทพธิดาชื่อมณีเมขลามาช่วยไว้ แสดงให้เห็นว่าผู้
มีความเพียร มีศีล มีกำลังใจ มีสติอาจรอดพ้นจากภัยพิบัติ พุทธทำนาย
ยังระบุด้วยว่าคนที่มีศีลครบบริสุทธิ์ จิตใจมีเมตตากรุณาไม่ประทุษร้ายผู้อื่น
จึงจะรอดพ้นภัยพิบัติ จึงให้หมั่นสวดมนต์ อาราธนาศีล 5 หรือศีล 8 มี
ความเคารพในพระรัตนตรัย

1.15 หนังสือสวดมนต์เล่มเล็กๆหรือเป็นแผ่นพับเล็กๆ คาถาพาหุงมหากา
ชินบัญชร อุปปะสันติ หนังสือรวมบทสวดพระสูตรและพระปริตรต่างๆที่มี
พุทธคุณต่างกัน เช่น รัตนสูตรใช้ทำน้ำมนต์ ขันธปริตรช่วยป้องกันงูและ
สัตว์มีพิษ เป็นต้น การสวดมนต์ในครอบครัวยามมีภัยพิบัติคืออาจล้อมวง
กันแล้วสวดมนต์ไปพร้อมๆกัน บทอิติปิโสภะคะวา สวดง่ายและศักดิ์สิทธิ์
แต่อย่าคิดว่าสวดมนต์แล้วอยู่เฉยๆจะปลอดภัย ถ้าภัยมาก็ต้องแก้ไขด้วยสติ
และความเพียรเช่นพระมหาชนกเป็นตัวอย่าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมช่วยผู้ที่คิด
จะช่วยเหลือตัวเองก่อน การสวดมนต์ช่วยให้มีสติป้องกันจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน
หรือเสียสติเวลาที่พบกับสถานการณ์ที่บีบคั้น จิตคนเราที่ฟุ้งซ่านจะเป็นบ้า
ได้ง่ายๆ ดังเช่นเหยื่อที่รอดชีวิตจากภัยสึนามิและคนงานในเหมืองที่ชิลี ยัง
มีพุทธทำนายว่าให้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมและยึดถือคาถาของอาตมาจะ
พ้นภัยพิบัติให้เจริญภาวนาดังนี้ " หิตะชิราทัน มันกะโลอังคะ ศิลากะละ
สา สาสะสะติ โหตะถิ โหคะหะคะเน "

1.16 อุปกรณ์ของใช้อื่นๆ ที่จำเป็น เช่น หน้ากากปิดจมูกป้องกันเขม่าควัน
แว่นตาว่ายน้ำใช้ป้องกันควันไฟ ลมแรงพัดฝุ่นละอองเข้าตา หรือเวลาต้อง
ลอยคออยู่ในน้ำนานๆ ยาแก้โรคประจำตัว แว่นสายตา นาฬิกากันน้ำแบบ
เข็มไม่ใช่แบบดิจิตอลเพราะอาจเสียได้จากพายุสุริยะ ช้อนกินข้าว พลั่ว
สนามขนาดเล็ก กระดาษทิชชู่ ผ้าอ้อม ของใช้สำหรับเด็ก ผ้าสามเหลี่ยม
แบบที่ลูกเสือใช้ ผ้าสารพัดประโยชน์ที่สุดคือผ้าขาวม้า มีผู้แนะนำให้
เตรียมที่อุดหูกันเสียงเพราะอาจมีเสียงดังมากเกิดขึ้นทำให้เสียงขวัญหรือเสีย
สติ อาจเป็นเสียงของระเบิดหรือเสียงธรรมชาติเตือนก่อนเกิดแผ่นดินไหว
ครั้งใหญ่

1.17 เงินสดและทองคำ ถอนเงินจากธนาคารแล้วแปลงเป็นเสบียงอาหาร
หรือทองคำ มีแนวโน้มว่าเงินอาจจะมีค่าน้อยลงหรือกลายเป็นเศษกระดาษ
ควรขายหุ้นและแชร์ ควรมีเงินสดไว้บ้างเผื่อจำเป็นต้องใช้ระหว่างเดินทาง
เพื่อซื้อของใช้ เสบียงอาหาร เติมน้ำมัน ส่วนบัตรเครดิตและ ATM อาจ
หมดประโยชน์

อุปกรณ์ที่อาจเสียหายเมื่อโดนน้ำให้เก็บในถุงพลาสติกใสกันน้ำ เช่น
ถุงแบบ Zip Lock หรือใส่ถุงแล้วมัดหนังยางกันน้ำเข้าก่อนใส่ในกระเป๋า
สัมภาระ ควรเก็บของให้เป็นหมวดหมู่และเลือกใช้ถุงพลาสติกใสเก็บของ
เพื่อสะดวกเวลามองหาสิ่งของที่เก็บไว้ได้ง่ายเวลาต้องรีบหยิบใช้ หลีกเลี่ยง
การลุยน้ำและตากฝนเพราะจะมีสารเคมีและเชื้อโรค ถ้าต้องเดินลุยน้ำต้อง
ใช้ถุงพลาสติกใส่เป็นถุงเท้าก่อนจะใส่รองเท้าเพื่อป้องกันโรค เช่น โรคน้ำ
กัดเท้าและโรคร้ายแรงอื่นๆ หลังจากนั้นให้ใช้ด่างทับทิมชำระล้างร่างกาย
ทุกครั้ง ในการเดินให้ใช้ไม้หยั่งดูพื้นใต้น้ำว่าปลอดภัยหรือไม่ พื้นอาจมี
หลุมมีบ่อมีท่อหรือพื้นทรุดตัว ต้องระวังงู ตะขาบ สัตว์มีพิษ รวมถึง
จระเข้ที่อาจหลุดออกมาจากฟาร์มด้วย
หากเป็นไปได้ควรมีอุปกรณ์ที่จำเป็นและมีขนาดเล็ก เช่น มีดพับ
เอนกประสงค์ แท่งหินจุดไฟหรือไฟแช๊ค ไฟฉาย เข็มทิศ แผนที่
นกหวีด กระจก ควรมีไว้ติดตัวเสมอ ส่วนกระติกน้ำ หม้อสนามและ

อื่นๆควรใส่ไว้ในกระเป๋าเป้ติดท้ายรถหรือมีเก็บไว้ในที่ทำงาน เพราะไม่
แน่ว่าเราอาจไม่มีเวลาหรือไม่มีโอกาสกลับไปเอาสัมภาระที่เตรียมไว้ที่บ้าน
ถ้ามีอุปกรณ์แต่ไม่มีความรู้ในการประยุกต์ อุปกรณ์ก็อาจไร้ประโยชน์
แนะนำให้ดูสารคดี Man vs. Wild (มีขายในอินเทอร์เน็ต) จะเห็นว่าสิ่งที่
ผู้เชี่ยวชาญในรายการต้องมีติดตัวเสมอขาดไม่ได้เลยคือ มีดพับ แท่งหินจุด
ไฟ กระติกน้ำและหม้อสนาม (แต่สำหรับคนธรรมดาอย่างพวกเราอาจต้อง
ขอเพิ่มไฟแช๊ค ไฟฉาย เครื่องกรองน้ำ ยาฆ่าเชื้อโรคในน้ำและอื่นๆ)
เทคนิคที่สำคัญคือการขึ้นที่สูงเช่นต้นไม้หรือภูเขาเพื่อสำรวจสภาพโดยรอบ
ว่าตัวเองอยู่ที่ไหนและควรไปทางไหน ควรไปในที่มีแหล่งน้ำ ที่ไหนมีน้ำ
ที่นั่นคือโอกาสรอดเพราะจะมีแหล่งชุมชน ทักษะที่สำคัญคือการจุดไฟ
หาอาหาร หาแหล่งน้ำ อย่าทำอะไรเสี่ยงๆ ให้หลบในที่มั่นคงอบอุ่นและ
ปลอดภัยเพื่อมีชีวิตรอดให้นานที่สุดจนกระทั่งได้รับความช่วยเหลือ เช่น
ในหนังเรื่อง The Day After Tomorrow อย่าลืมส่งสัญญาณขอความ
ช่วยเหลือด้วย สัญญาณควันไฟ สัญญาณแสง สัญญาณเสียง แต่ใน
ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติมักแสดงให้เห็นว่าการเจอกับคนก็อาจไม่โชคดี
เสมอไป เขาอาจมาช่วยเหลือหรืออาจมาซ้ำเติมก็ได้ ความอดอยากอาจทำ
ให้คนบางคนกลายเป็นโจรปล้นชิงในยามที่บ้านเมืองกำลังวุ่นวาย
การเลือกอุปกรณ์มีหลักดังนี้คือ เรามีเงินพอที่จะซื้อ (อันนี้สำคัญที่สุด)
อุปกรณ์เล็กเบากะทัดรัดแต่เชื่อถือได้ว่าทนทานพอควร สามารถใช้งานได้

จริงควรทดสอบใช้ดูก่อน ไม่ใช่ซื้อมาแล้วไม่เคยทดสอบเลยหรือใช้ไม่เป็น
หลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่เป็นดิจิตอล อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ต้องชาร์จ
ไฟ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ถ่านแบตเตอรี่ อุปกรณ์ดังกล่าวเหล่านี้อาจมีไว้ใช้แต่
ไม่ควรคาดหวังว่าจะมีโอกาสได้ใช้ไปตลอด เพราะเรายังไม่รู้ว่าหนทาง
ข้างหน้าจะมีไฟฟ้าหรือมีถ่านแบตเตอรี่เปลี่ยนหรือเปล่า ระบบไฟฟ้าและ
ระบบการสื่อสารในเขตภัยพิบัติมักใช้การไม่ได้ ไม่ควรหวังว่าจะได้ชาร์จ
ไฟจากรถยนต์เพราะอาจต้องจอดรถทิ้งไว้
รถยนต์ที่มีอาจต้องจอดทิ้งไว้เพราะการจราจรอาจติดขัดมากจนบางคน
จอดรถทิ้งขวางทางไว้ จนในที่สุดทุกคนก็อาจต้องจอดรถทิ้งไว้เหมือนกัน
หมด เสาไฟฟ้าหรือต้นไม้อาจล้มขวางทาง ถนนหนทางก็อาจเสียหายหรือ
น้ำท่วมจนใช้การไม่ได้ สภาพอากาศอาจแย่มากจนมองไม่เห็นหรือถนน
ลื่นจนเกิดอุบัติเหตุกีดขวางถนน รถที่ใช้ได้ดีน่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์แต่ต้อง
เตรียมน้ำมันสำรองและต้องพยายามวิ่งเลี่ยงฝูงชน เพราะอาจโดนทำร้าย
เพื่อชิงรถได้ เห็นได้จากภาพยนตร์เรื่อง War of the World ควรเตรียมสิ่ง
ต่างๆให้พร้อมแต่ไม่ควรทำให้โดดเด่นล่อตาพวกโจร นอกจากนี้ยังอาจ
ต้องเตรียมเรือไว้เป็นยานพาหนะช่วยให้ปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้าที่รั่วจาก
สายไฟที่ขาดตกลงไปในน้ำ
ระวังอุปกรณ์ที่เป็นแบบสารพัดประโยชน์ในเครื่องเดียว ตัวอย่างเช่น
อุปกรณ์ที่เป็นทั้งไฟฉาย ไฟฉุกเฉิน มีด วิทยุ เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ ข้อดี

คือเอนกประสงค์แต่ข้อเสียคือ ถ้าหากพังหรือสูญหายก็หมายความว่ามันจะ
เสียหายใช้การไม่ได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นอุปกรณ์ใดที่คิดว่ามีความจำเป็น
มากๆ ควรมีชุดสำรองแยกเก็บไว้ในที่ปลอดภัยใส่ในถุงพลาสติกใสกันน้ำ
2. กระเป๋าใบที่สอง เป้แบบสะพายหลัง เป็นเป้สัมภาระที่ใช้สะพายหลัง
เพื่อที่มือทั้งสองข้างจะได้ว่างเอาไว้ปีนป่ายหรือยึดเกาะสิ่งต่างๆ เป้ใบนี้ใช้
เพื่อบรรทุกอุปกรณ์ที่มีความสำคัญรองลงมา หรือของสำคัญที่ใหญ่เกินกว่า
จะใส่กระเป๋าคาดเอวใบแรกได้ กระเป๋าใบนี้อาจมีความจำเป็นต้องสละทิ้ง
หรือเอาของบางอย่างทิ้งในยามคับขันเพื่อให้คล่องตัว ของทุกอย่างควร
แยกใส่ถุงพลาสติกใสกันน้ำ แบ่งเป็นหมวดหมู่เพื่อความรวดเร็วในการ
หยิบมาใช้ หรือเพื่อสะดวกในการหยิบทิ้งเมื่อต้องการความคล่องตัว ต้อง
แน่ใจว่ากระเป๋าเป้รับน้ำหนักสัมภาระไหว กระเป๋าเป้ขาดเป็นเรื่องยุ่งยาก
ในการเดินทาง

2.1 เครื่องกรองน้ำแบบพกพา ถ้าเอามาใส่ในเป้สะพายหลัง ควรมีกล่อง
เหล็กหรือกล่องพลาสติกกันแตกหักจากการถูกกระแทกในระหว่างหลบภัย
2.2 ชุดอุปกรณ์สำรองเผื่อชำรุดสูญหาย ได้แก่อุปกรณ์สำคัญคือ มีดพับ
แท่งหินจุดไฟหรือไฟแช๊ค ไฟฉาย นกหวีด กระจก เข็มทิศและอื่นๆของ
พวกนี้เล็กจึงอาจโดนยืมหรือหล่นหายง่ายๆ แต่เนื่องจากมันเล็กและเบา
ดังนั้นถ้าจะมีชุดสำรองอีกสักหนึ่งชุดก็คงไม่เป็นภาระและให้ความอุ่นใจ

2.3 กระเป๋ายา กระเป๋าเล็กที่บรรจุสิ่งที่เกี่ยวกับสุขภาพและการปฐมพยาบาล
เบื้องต้น เช่น ยาแก้ท้องร่วง เกลือแร่ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาใส่แผลสด
ผ้าพันแผล สำลี พลาสเตอร์ปิดแผล กรรไกร ถุงมือยางกันติดเชื้อ ยาฆ่า

เชื้อโรคในน้ำสำหรับดื่ม ยาหยอดตาแก้โรคตาแดง ยาแก้เท้าเปื่อยน้ำกัดเท้า
ยาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ยาทากันยุง ยาเส้นหรือยาฉุนช่วยห้ามเลือดได้ ถ้า
ใช้ผสมน้ำทาตัวช่วยไล่ยุง แมลงและทาก เมื่อน้ำท่วมยุงจะชุมและดุ งูและ
สัตว์มีพิษจะหนีน้ำออกมา ควรมีอาหารเสริมประเภทวิตามินรวม สาหร่าย
น้ำมันรำข้าว ของทั้งหมดอย่าลืมใส่ในถุงพลาสติกใสกันน้ำ ครีมทาผิว
ป้องกันผิวแห้งแตกจากอากาศหนาว (ผิวแตกแล้วมีอาการคันและเจ็บตาม
ผิวหนัง) ด่างทับทิมและคาราไมล์ควรมีไว้เป็นจำนวนมาก มีคำแนะนำว่า
ในช่วงที่มีภัยพิบัติให้ใช้ด่างทับทิมล้างผักผลไม้ก่อนทานทุกครั้ง ส่วนคา
ราไมล์จะช่วยรักษาโรคทางผิวหนังที่เกิดในช่วงภัยพิบัติได้อย่างมหัศจรรย์

2.4 เสื้อกันฝนและเสื้อกันหนาวแบบหนาที่สุด แบบที่นักปีนภูเขาหิมะหรือ
นักเล่นสกีหิมะใช้ หรืออาจเตรียมเสื้อผ้าเนื้อหนาหลายตัว อากาศตอนนั้น
อาจจะหนาวจนใกล้ติดลบ เริ่มหนาวมากเมื่อไหร่ก็เอาออกมาใส่ ช่วงนั้น
ต้องระวังโดนปล้นชิงเสื้อกันหนาวด้วย เคยดูในภาพยนตร์เรื่อง The Road
อย่าทอดทิ้งวางไว้ เก็บซ่อนให้ดีเมื่อจำเป็นจึงนำมาใช้ ควรใส่ถุงพลาสติก
ใสกันเปียกน้ำไว้ เพราะถ้าทำเป้ตกน้ำหรือทั้งคนทั้งเป้ตกน้ำล่ะเรื่องใหญ่
แน่เพราะมันจะอุ้มน้ำและหนักสุดๆ

2.5 ผ้าห่มอวกาศหรือ Space Blanket ราคาไม่กี่ร้อยบาทแต่อาจหาซื้อยาก
ต้องสั่งซื้อจากทางอินเทอร์เน็ตเพราะในเมืองไทยไม่ค่อยนิยม ข้อดีคือมี
น้ำหนักเบาและเก็บความร้อนของร่างกายดีมากๆ สะดวกดีที่น้ำหนักเบา
เพราะเสื้อกันหนาวที่หนาจะมีน้ำหนักมาก ถ้าเปียกน้ำจะต้องตากหลายวัน
กว่าจะแห้งจึงควรมีผ้าห่มอวกาศติดไว้ด้วย ตามร้านประเภทที่ขายของทุก

ชิ้นในร้าน 60 บาทก็มีขายแต่อาจใช้ไม่ค่อยทน ถ้าหาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
ให้ใช้เทคนิคจากในภาพยนตร์เรื่อง The Day After Tomorrow เอาถุงขนม
ประเภทมันฝรั่ง ถุงดำใส่ขยะหรือกระดาษมายัดไว้ในเสื้อเป็นชนวนรักษา
ความร้อนของร่างกายได้เช่นกัน

2.6 ถุงนอนหรือเต๊นท์ ดีกันไปคนละแบบ ลองหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
มีเอาไว้ในกรณีต้องย้ายออกจากที่หลบภัย เมื่อพบว่ามันอาจไม่ปลอดภัยอีก
ต่อไป ที่สำคัญคือพยายามเลือกแบบที่อบอุ่นและเล็กมีน้ำหนักเบา จำไว้
เสมอว่าอุปกรณ์ทุกชนิดต่อให้ดีเลิศขนาดไหน แต่ถ้ามันหนักหรือเกะกะ
เกินไปก็อาจทำให้เราต้องจำใจทิ้งไป เพราะมันจะเป็นตัวถ่วงในการเอาชีวิต
รอด ของที่ดีคือของที่เรามีโอกาสได้ใช้ ไม่ใช่ของที่เราต้องกองทิ้งไว้

2.7 ผ้าใบหรือฟลายชีต ใช้ทำที่พักชั่วคราว ทำหลังคาบังลมกันฝนกันแดด
เผื่อแผ่คนอื่นได้ดีกว่าถุงนอนและเต๊นท์ ใช้ปูพื้นรองนอนได้ด้วย การปูพื้น
ก่อนนอนนั้นมีความจำเป็น เนื่องจากร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไป
มากถ้าเรานอนบนพื้นเย็นๆที่ไม่ได้ปูผ้ารอง ถ้าไม่มีอย่างน้อยก็ต้องหาเศษ
หญ้าหรือใบไม้แห้งมาปูทำเป็นชนวนรักษาความร้อนในร่างกาย

2.8 แพยาง ห่วงยางเป่าลม มีไว้สำรองแทนชุดชูชีพ มีไว้ไม่หนักกระเป๋า
เวลาจะใช้ก็ค่อยเป่าลมเข้าไป เผื่อได้ช่วยเหลือคนอื่นด้วย อันนี้ใช้ในกรณี
ไม่ฉุกเฉิน เรายังคงต้องมีชุดชูชีพติดตัวไว้ด้วย

2.9 พลุสัญญาณขอความช่วยเหลือ แต่เวลาจุดแล้วไม่ควรถือไว้เพราะอาจมี
อันตราย ของจีนแดงมีประกายไฟหรืออาจระเบิดได้ ให้ปักไว้ที่พื้น

2.10 อาหารและน้ำดื่ม กะปริมาณเท่าที่พอจะแบกได้ อาจจะเตรียมสำหรับ
7 วันหรืออย่างน้อยคือเพียงพอสำหรับ 3 วัน เพื่อรอความช่วยเหลือ แบก
หนักมากไปก็ไม่ดีมันจะถ่วงเดินลำบาก เดินไม่ไกล วิ่งไม่ไหว และปวด
เมื่อยตัว อาหารที่เราเก็บตุนไว้แต่แบกไม่ไหวนั้นเราจะแบ่งเอาไปใส่ใน
กระเป๋าใบที่ 3 ซึ่งมีล้อเลื่อน ถ้าน้ำท่วมก็ยกเอากระเป๋าวางบนสิ่งของที่
ลอยน้ำได้ หรือใช้แพยาง ห่วงยางเป่าลมที่เราเตรียมไว้

2.11 รองเท้าแตะ น้ำหนักเบาแบบใส่สบาย เผื่อกรณีรองเท้าหลักที่เราใช้
เดินทางเกิดขาดหรือทรยศกัดเท้าเราขึ้นมา สุขภาพเท้าเป็นสิ่งสำคัญมากใน
การเดินทางไกล เลือกรองเท้าชนิดที่ทนทานจริงๆ ควรเลือกแบบสวม
มากกว่าแบบหนีบ เพราะแบบหนีบนั้นถ้าเดินนานๆอาจเจ็บง่ามนิ้ว แบบที่
สวมแล้วมีที่ล๊อคส้นช่วยให้ไม่หลุดลอยไปกับน้ำ รองเท้าหลักที่ใช้ควรเป็น
รองเท้าเดินป่าหรือรองเท้าผ้าใบหุ้มข้อ เพื่อป้องกันอันตรายและสัตว์มีพิษ
รองเท้าดอกยางเล็กเหมาะกับในเมืองแต่จะลื่นง่าย เวลาเดินป่าหรือขึ้นเขา
ควรเลือกดอกยางใหญ่หน่อย และควรเอาออกมาใช้บ่อยๆจนเชื่อมั่นว่าจะ
สามารถใช้เดินทางได้จริงโดยไม่ทรยศมากัดเท้าเราจนเป็นอุปสรรค สิ่งของ
ที่ลอยมากับน้ำท่วม เช่น รองเท้า อาจนำมาใช้ได้แต่ต้องฆ่าเชื้อเสียก่อน

2.12 ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน แชมพู สบู่ ที่โกนหนวด กรรไกรตัด
ผม ชุดชั้นใน ถ้าเตรียมไว้มากเกินไปก็หนัก แต่ถ้าไม่มีเลยก็ลำบาก ของ
จำเป็นสำหรับผู้หญิงคือผ้าอนามัย ผ้าอนามัยแบบสอดจะสะดวกคล่องตัว
ผ้าอนามัยแบบปกติใช้ซับห้ามเลือดได้ ถุงยางอนามัยก็อาจจะดัดแปลงใช้
ประโยชน์ได้ เช่น ใส่น้ำ ผูกมัดสิ่งของ ทำแพ

2.13 เชือกเส้นใหญ่ ความยาวประมาณ 10 - 20 เมตร ต่อคน สามารถใช้
ช่วยคนตกน้ำหรือผูกสิ่งของไม่ให้ลอยไปกับน้ำ มัดของที่ลอยน้ำเพื่อทำแพ
ชั่วคราว ลองทบทวนวิธีการผูกเงื่อนต่างๆไว้บ้างก็ดี

2.14 เชือกเส้นเล็ก ใช้มัดมีดติดกับไม้ยาวๆทำเป็นหอกป้องกันตัวหรือสอย
เก็บผลไม้ อาจใช้ขึงผ้าใบทำเต๊นท์ชั่วคราว ใช้ทำห่วงจับงู มัดเหนือแผลที่
โดนงูกัด ต้องระวังงูและสัตว์มีพิษที่หนีน้ำท่วม ไหมขัดฟันนอกจากใช้ขัด
ฟันแล้วยังเป็นเชือกที่เหนียวดีทีเดียว

2.15 วิทยุสื่อสาร (ว. แบบที่ใช้ในหน่วยกู้ภัยหรือ รปภ.) มีไว้ติดตามข่าว
ก่อนเกิดเหตุและขอความช่วยเหลือ จะใช้ได้ในช่วงที่ภัยพิบัติยังไม่รุนแรง
แต่ปัญหาคือเมื่อไฟดับก็จะไม่มีที่ชาร์จแบต ราคาประมาณ 3,000 บาทขึ้น
ไป ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่อย่างน้อยต้องมีวิทยุ AM/FM แบบที่ใช้ถ่านหรือ
แบตเตอรี่เพื่อฟังข่าวการเตือนภัยและข่าวการให้ความช่วยเหลือ

2.16 เครื่องเล่น MP3 และวิทยุ AM/FM เอาไว้ฟังธรรมะและข่าวสารจาก
ทางราชการหรือจากวิทยุท้องถิ่น อย่างในภาพยนตร์เรื่อง I Am Legend ที่
ประกาศตามหาผู้รอดชีวิตผ่านทางคลื่นวิทยุ

2.17 เครื่องชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือแบบใช้มือหมุนเป็นแบบไดนาโม
ราคาประมาณ 200 บาทขึ้นไป เอาไว้ชาร์จไฟอุปกรณ์ เช่น วิทยุและเครื่อง
เล่น MP3 ที่เราบันทึกเสียงธรรมะเสียงสวดมนต์ไว้ฟัง ถึงแม้ระบบสื่อสาร
โทรศัพท์มือถืออาจจะล่มใช้การไม่ได้ แต่ก็อาจชาร์จไฟไว้เพื่อเล่นเกมส์แก้
เซ็ง แต่อันที่จริงไม่แนะนำให้เล่นเกมส์เพราะช่วงนั้นเราควรตื่นตัวระวังภัย
ตลอดเวลา ถ้าฟุ้งซ่านควรสวดมนต์ ทำจิตใจให้เป็นกุศล

2.18 อุปกรณ์และหนังสือการปฐมพยาบาล คู่มือการกดจุดที่เท้าและร่างกาย
การบำบัดด้วยกัวซา คู่มือการใช้สมุนไพร คู่มือการเอาชีวิตรอดในภัยพิบัติ
คู่มือเหล่านี้อาจใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยบางอย่างได้ในยามไกลหมอ ความรู้
ด้านการแพทย์ทางเลือกระบุว่า การดื่มน้ำปัสสาวะช่วยแก้ไขอาการเจ็บป่วย
ได้มากมาย เช่น ไข้มาลาเรีย เจือจางกับน้ำใช้ทำเป็นยาหยอดตา เรียกว่า
น้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรคที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกไว้แก่พระสงฆ์

2.19 เสื้อผ้าชุดหลัก คือชุดที่เราใช้เดินทางไกล เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
เพื่อป้องกันร่างกายจากการถูกขีดข่วน ป้องกันเวลาล้มตัวลงหมอบคลาน
แนะนำเนื้อผ้าแบบที่ทหารใช้ ไม่แนะนำกางเกงยีนส์เพราะอุ้มน้ำและไม่
คล่องตัวเวลาปีนป่าย รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าที่เหมาะกับการเดินป่า ควร
เป็นแบบที่หุ้มข้อ ควรเตรียมเสื้อผ้าไว้ในเป้เพราะไม่แน่ว่าในวันที่มีเหตุ
ฉุกเฉินนั้นเราอาจกำลังนอนหลับหรือทำงาน เสื้อผ้าที่ใส่อยู่ตอนนั้นอาจ
เป็นชุดนอนหรือชุดอะไรก็แล้วแต่ที่ไม่เหมาะกับการเดินทางไกล ถ้ามีเหตุ
ฉุกเฉินเราก็เพียงคว้ากระเป๋าที่เราเตรียมไว้ ในระหว่างทางพอมีโอกาสแล้ว
เราค่อยเปลี่ยนเป็นชุดที่เราเตรียมไว้แล้วค่อยเดินทางต่อไป

2.20 เสื้อผ้าลำลอง 1 - 2 ชุด เผื่อว่าเสื้อผ้าชุดหลักเราเปียกน้ำ จะได้ไม่ต้อง
เปลือยขณะที่เรารอให้เสื้อผ้าแห้ง ไม่ควรใช้เสื้อผ้าสีดำเพราะยุงชอบ

2.21 ถุงเท้า ถุงมือ หมวกไหมพรม ส่วนปลายของร่างกายเป็นจุดที่ร่างกาย
สูญเสียความร้อนได้ง่าย ถุงมือยังช่วยในการปีนป่าย การจับไต่เชือก

2.22 หมวกนิรภัยแบบวิศวะกรหรือหมวกกันน๊อค ป้องกันลูกเห็บ ของแข็ง
ตกใส่ คนปาหินทำร้าย

2.23 บุหรี่ ใช้ผูกมิตรกับใครบางคน เอาไปแลกกับอะไรบางอย่าง อาจแกะ
มวนบุหรี่เพื่อเอาเส้นยาสูบออกมามาผสมน้ำทาตัวช่วยไล่ยุง แมลงและทาก

3. กระเป๋าใบที่สาม กระเป๋าเสบียงอาหาร กระเป๋าใบนี้ควรเป็นกระเป๋าที่มี
ล้อเลื่อนเพื่อให้เราเข็นหรือลากได้ หรืออาจใช้รถเข็นแบบที่ใช้ในซุปเปอร์
มาร์เก็ต หรือรถเข็นแบบพับได้ที่แม่ค้าขายเสื้อผ้าแถวประตูน้ำใช้ กระเป๋า
นี้เราจะบรรทุกเสบียงอาหารและน้ำที่เรามีทั้งหมด รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆที่
เราแบกไม่ไหว กระเป๋านี้ควรมีกันทุกคนเผื่อว่าต้องอพยพออกจากบ้านหรือ
ที่หลบภัยแล้วหากเกิดพลัดหลงกันหรือกระเป๋าบางส่วนเกิดสูญหาย
3.1 อาหารแห้งหรืออาหารกระป๋องที่กินได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องปรุงหรือ
ก่อไฟ เก็บไว้ได้นานโดยไม่ต้องแช่เย็น อย่าลืมดูวันหมดอายุ เลือกอาหาร
ที่เบาหรือชิ้นไม่ใหญ่แต่ให้พลังงานสูง เช่น พวก Energy Bar และ
พวกช็อคโกแลต ส่วนผลไม้อบแห้งบางอย่างเช่น ลูกเกด ก็ให้พลังงานสูง
อาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบรไฮเดรตให้พลังงานไม่นานเท่าโปรตีนและ
ไขมัน เนยถั่วแบบที่ใช้ทาขนมปังจึงเป็นตัวเลือกที่ดี มีทั้งน้ำตาล โปรตีน
และไขมัน พระมหาชนกเมื่อท่านทรงทราบว่าเรือจะจม ท่านก็เตรียมคลุก
น้ำตาลกรวดกับเนยเป็นเสบียงเสวยจนเต็มท้อง มีผู้แนะนำว่าในช่วงวิกฤติ
ของภัยพิบัตินั้นห้ามกินเนื้อสัตว์ กินได้แต่ผักผลไม้แต่ต้องใช้ด่างทับทิม
ล้างก่อนทุกครั้ง โปรตีนจากถั่วช่วยทดแทนโปรตีนจากสัตว์ได้
3.2 น้ำดื่ม น้ำเปล่าดีที่สุด อย่างน้อย 1 – 2 ลิตร / ต่อคน / ต่อวัน น้ำมีไว้
สำหรับดื่มเท่านั้น อาจไม่มีการอาบน้ำ ล้างจาน ราดส้วมหรือใช้ฟุ่มเฟือย

คนเราอดอาหารได้เป็นเดือนแต่ถ้าขาดน้ำ 7 วันเราก็ตายได้ อาจต้องมีการ
นำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ นั่นคือการเก็บน้ำปัสสาวะของตัวเองไว้
3.3 สัมภาระอื่นๆ เช่น เครื่องปั่นไฟ เชื้อเพลิงจุดไฟ น้ำมัน แบตเตอรี่
เอกสารความรู้ต่างๆที่มีประโยชน์ ถุงขยะสำหรับขับถ่ายและใส่ขยะ ใน
ยามที่น้ำท่วมอาจไม่มีที่ให้ทิ้งขยะและไม่มีห้องน้ำให้ใช้ขับถ่าย เมล็ดพันธุ์
พืช เครื่องมือซ่อมแซมที่หลบภัย เช่น ค้อน ตะปู ลวด เทปกันน้ำ

4. ยานพาหนะ มอเตอร์ไซค์อาจคล่องตัวกว่ารถยนต์ อย่าลืมน้ำมันสำรอง
ถ้าใช้จักรยานอย่าลืมที่สูบลมและยางในล้อจักรยานไว้เปลี่ยน เรือก็มีความ
จำเป็นเพราะถนนหนทางโดนน้ำท่วมพังพินาศ เรือช่วยไม่ให้ถูกตัดขาด
จากโลกภายนอกและปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้าในน้ำ ในช่วงแรกที่เกิดน้ำ
ท่วมฉับพลันรุนแรง เจ้าหน้าที่อาจยังไม่ได้ตัดกระแสไฟ ต้องระวังว่าเสาไฟ
ที่ล้มหรือสายไฟที่ขาดปล่อยกระแสไฟลงสู่น้ำ

5. ที่หลบภัย นำมากล่าวไว้สุดท้ายแต่มีความสำคัญที่สุดเพราะต่อให้มีการ
เตรียมตัวดีอย่างไร แต่ไม่มีการเตรียมสถานที่หรือไม่อพยพไปสู่สถานที่ซึ่ง
ปลอดภัยก็ย่อมมีอันตรายอย่างแน่นอน ทุกพื้นที่อาจได้รับภัยพิบัติทั้งหมด
แต่ความรุนแรงจะแตกต่างกันไป ในยามมีภัยพิบัติอาจมีทั้งหน่วยราชการ
โรงเรียนและวัดที่เปิดรับเป็นที่ให้พักพิงหลบภัย แต่แนะนำให้อยู่ในเขตวัด
ที่อยู่บนภูเขาสูงและมีพระอริยะเจ้าซึ่งปฏิบัติเคร่งครัด แผนการรับภัยพิบัติ
ที่ดีที่สุดคือการหลบภัยพิบัติ อพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงก่อนจะเกิดภัยพิบัติ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
GoDaddy Auctions: The smart choice for buying & selling domain names, Low Yearly Fee