หนังสือสาร์นจากต่างดาว

Bestseller Britney Spear Midnight

Bestseller Britney Spear Midnight
น้ำหอมแบรนด์เนม ของแท้ 100% ถูกที่สุด

ร้านขายสตาร์วอร์


วิธีหาเงินเพิ่มรายได้

บล็อกเพื่อนบ้าน

# KonClip.com : ดู ละคร ย้อนหลัง,ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 9, ช่อง 11, TPBS, TV Online, คลิปผี

ปรากฏการณ์ ลานินญ่า แอลนีโญ EL Nino vs La Nina อังกฤษ

วันพฤหัสบดี, มกราคม 19, 2555



 ปรากฏการณ์เอลนิโน (El Nino Phenomena)
ลานินา (La Nina Phenomena) (ภัยพิบัติ) 

      เนื่องจากส่วนต่างๆของโลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน (โดยเฉพาะแถบเส้นศูนย์สูตรจะเป็นบริเวณที่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากกว่าส่วนอื่นของโลก ความร้อนส่วนใหญ่จะถูกเก็บสะสมอยู่ที่ผิวหน้าของน้ำในมหาสมุทร น้ำบริเวณนี้จึงอุ่นกว่าที่อื่น) จึงมีการระเหยของไอน้ำในมหาสมุทรไม่เท่ากัน เป็นผลให้มีความดันที่แตกต่างกันไปตามตำแหน่งต่างๆบนโลก จนเกิดเป็นการเคลื่อนที่หมุนวนของกระแสอากาศตามช่วงต่างๆ ของ ละติจูดในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ เช่น ฮาร์ดเลย์เซลล์ (hadley cell), เฟอร์เรลเซลล์ (Ferrel cell), โพลาร์เซลล์ (Polar cell) (ดูภาพที่ 5- 6) กอร์ปกับมีแรงบิดเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลก หรือแรงคอริโอลิส (coriolis force) ทำให้เกิดเป็นลมชนิดต่างๆ เช่น ลมสินค้า (trade winds), เวสเตอร์ไลส์(Westerlies), อิสเตอร์ไลส์ (Easterlies) ลมสินค้าหมุนวนอยู่แถบเส้นศูนย์สูตร โดยจะหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกภาคเหนือ (เรียกว่าลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ NE trade winds) และหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกภาคใต้ (เรียกว่าลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SE trade winds) (ภาพที่ 5- 6) กระแสลมอันรุนแรงทั้งสองชนิดนี้จะช่วยกันพัดพาขับเคลื่อนกระแสน้ำอุ่นที่ผิวหน้าของมหาสมุทรแถบเส้นศูนย์สูตร ให้วิ่งจากมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก (ด้านแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของประเทศในทวีปอเมริกาใต้ เช่น เปรู เอควาดอร์ ฯลฯ) สู่มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก (ด้านแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของประเทศ เช่นอินโดนีเซีย นิวกินี และออสเตรเลีย ฯลฯ) (ภาพที่ 5- 7-a) เป็นผลให้กระแสน้ำเย็นจากท้องทะเลเบื้องล่างมีโอกาสพัดพาสารอาหารจากท้องมหาสมุทรให้ขึ้นมากระจายหล่อเลี้ยงพื้นน้ำเบื้องบนที่ชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ (ภาพที่ 5- 8) และมีฝนตกหนักบนแผ่นดินด้านแปซิฟิกด้านตะวันตก สาเหตุของปรากฏการณ์เอลนิโนและลานินา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในมหาสมุทรจะกระทบต่อบรรยากาศและรูปแบบของภูมิอากาศรอบโลก ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศก็จะกระทบต่ออุณหภูมิของมหาสมุทรและกระแสน้ำเช่นกัน ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่อุณหภูมิ ที่ผิวหน้าน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน (Tropical Pacific) แถบเส้นศูนย์สูตรนี้ (ภาพที่ 5- 9) มีการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นผิวของมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดปรากฏการณ์เอลนิโนและปรากฏการณ์ลานินา ดังนี้ 


   1.ปรากฏการณ์เอลนิโนเกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ทำให้ความดันบริเวณตะวันออกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันตก จึงเกิดเป็นลมที่พัดสวนทางกับลมสินค้า จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยลมต้านนี้อาจมีความแรงพอที่จะพัดพากระแสน้ำอุ่นให้ไหลย้อนทิศทางได้ด้วย (ภาพที่ 5- 7 - b) โดยเฉพาะเมื่อลมสินค้ามีการอ่อนตัวลงในบางเดือนของปี (ประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ปรากฏการณ์เอลนิโนทำให้แปซิฟิกตะวันออก มีความอุ่นอย่างผิดปกติ โดยอุณหภูมิอาจสูงกว่าปกติ 2?C – 3.5?C จึงเรียกว่า “the El Nino warming” และความร้อนในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ จะทำให้มีก้อนเมฆสะสมอยู่ในมหาสมุทรมากขึ้น ในขณะเดียวกันชั้นน้ำอุ่นนี้จะทำการปิดกั้นการไหลขึ้นสู่เบื้องบนของกระแสน้ำเย็นจากท้องมหาสมุทร ทำให้ เทอร์โมฮาไลน์ มีการเปลี่ยนทิศทาง สภาวะเอลนิโนจะกินเวลาประมาณ 9-12 เดือน เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโนจะเกิดพร้อมกับความผันผวนของภูมิอากาศในซีกโลกภาคใต้ มันจึงมักถูกเรียกรวมกันไปว่า “ปรากฏการณ์เอนโซ” (ENSO, El Nino and Southern Oscillation) 


    2.ในทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์ลานินาเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างผิดปกติของผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ทำให้ความดันบริเวณตะวันตกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันออกจึงเกิดเป็นลมที่พัดเสริมลมสินค้าจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ปรากฏการณ์ลานินา ความหมายของเอลนิโนและลานินา เอลนิโน เป็นภาษาสเปน มีความหมายว่า “เด็กผู้ชาย”
    แต่เนื่องจากปรากฏการณ์นี้มักจะเกิดในช่วงปลายของเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงคริสตมาส จึงมักเรียกว่า “บุตรแห่งพระเจ้า” หรือ "a warm episode" ลานินา มีหลายความหมายเช่น “เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ” แต่บางครั้งก็มีคนเรียกว่า “El Viejo” ที่แปลว่า “ชายแก่” ในขณะที่หลายคนเรียกว่า “anti-El Nino” หรืออาจเรียกง่ายๆว่า "a cold event" หรือ "a cold episode" ลานินามักจะถูกเรียกว่าเป็นน้องสาวที่ชั่วร้ายของเอลนิโน อย่างไรก็ตามอิทธิพลของลานินาต่อการประมงตามชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ จะรุนแรงน้อยกว่า 

   ปรากฏการณ์เอลนิโน ทำให้ลานินาได้รับความสนใจน้อยกว่าเอลนิโน ผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกและการหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร (Lim, 1984; Berlage, 1966; และ Bjerkness, 1966, 1969, 1972) ดังนั้นปรากฏการณ์ทั้งสองจึงส่งผลกระทบต่อทิศทางการไหลหมุนเวียนของเทอร์โมฮาไลน์ และส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศโลก จนเกิดเป็นภัยพิบัติต่างๆ เช่น ความแห้งแล้ง อดหยาก และอุทกภัย (ภาพที่ 5- 11) ดังนี้ 


   1.ปรากฏการณ์เอลนิโน ทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก มีความชุ่มชื้นกว่าปกติจนเกิดเป็นอุทกภัย ในขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก เกิดความแห้งแล้ง (ภาพที่ 5- 11-a) โดยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1OC บนมหาสมุทรจะเพิ่มความรุนแรงให้แก่เฮอริเคนที่เกิดขึ้นในแถบอิเควเตอร์แต่มันก็มีข้อดีบางประการเช่นช่วยลดความรุนแรงและจำนวนครั้งของการเกิดเฮอริเคนแห่งแอตแลนติกในแอตแลนติกเหนือ และทอร์นาโด ในตอนกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา 


    2.ปรากฏการณ์ลานินาทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกมีความชุ่มชื้นกว่าปกติจนเกิดเป็นอุทกภัย ในขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกเกิดความแห้งแล้ง (ภาพที่ 5- 11 -b) ปรากฏการณ์ลานินาและเอลนิโน จะส่งอิทธิพลไปทั่วโลก โดยผลกระทบที่มีต่อภูมิอากาศโลก จะมีแนวโน้มอยู่ในทิศทางที่ตรงข้ามกัน ทำให้ความแปรปรวนของอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนเกิดในทิศทางที่ตรงข้ามกันด้วย ระบบภูมิอากาศโลกจึงมีการสลับไปมาทุกๆ 3-5 ปีโดยเฉลี่ย การสลับระหว่างช่วงแห่งความอบอุ่นของสภาวะเอลนิโน และสภาวะปกติ (หรือช่วงแห่งความหนาวเย็น ของสภาวะลานินา)


    นี้สามารถบ่งชี้ ได้ด้วยดัชนีของคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศในซีกโลกภาคใต้ (Southern Oscillation Index, S.O.I) ในภาพที่ 5- 12 S.O.I เป็นการวัดความดันที่แตกต่างกันระหว่างเมืองดาร์วินในออสเตรเลียและเมืองตาฮิติในแปซิฟิกกลาง ค่าลบของ S.O.I หมายถึงโอกาสในการเกิดสภาวะเอลนิโน และค่าบวกหมายถึงโอกาสในการเกิดสภาวะลานินา โดยค่าดัชนีจะชี้ให้เห็นถึง ความรุนแรงและระยะเวลาของสถานการณ์ ด้วย ค่า S.O.I ได้ถูกบันทึกมานานกว่า 100 ปีแล้ว ทำให้ได้ค้นพบว่า ปรากฏการณ์เอนโซ ได้ เกิดอยู่ในแปซิฟิก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยคลื่นแห่งความผันผวนนี้ มีแอมพลิจูดที่แตกต่างกันมาก ในขณะที่ มีความถี่ค่อนข้างจะคงที่ จากปี 1950 ถึง 1977 มีสภาวะเอลนิโนเกิดขึ้นร้อยละ31มีสภาวะลานินาเกิดขึ้นร้อยละ 23


     และมีสภาวะปกติเกิดขึ้นร้อยละ 46 ในช่วงนี้ การเกิดปรากฏการณ์เอลนิโนและลานินา จะมีจำนวนครั้งที่ใกล้เคียงกัน จนเกิดเป็นคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศ แต่สิ่งที่น่ากังวลใจสำหรับนักวิทยาศาสตร์คือ ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา พฤติกรรมของคลื่นแห่งความผันผวนนี้ได้เบี่ยงเบนไป โดยปรากฏการณ์เอลนิโน เกิดบ่อยครั้งมากขึ้นจนผิดปกติและมีแอมพลิจูดที่สูงขึ้น (ภาพที่ 5- 12) ตัวอย่างเช่นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีเอลนิโนเกิดขึ้นถึง 9 ครั้งทุก ๆ 2.2 ปี (ในอดีตเคยเกิดทุก 7 ปี)ในขณะที่มีปรากฏการณ์ลานินา เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว นั่นหมายความว่าคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศในซีกโลกภาคใต้ กำลังหมดสิ้นลงแล้วจากการค่อยๆหายตัวไปของปรากฏการณ์ลานินา โลกจึงมีแต่ความร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะปรากฏการณ์ลานินาจะช่วยยื้อให้ภูมิอากาศโลกกลับสู่สภาพปกติได้ พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้มีความรุนแรงมาก ในปี 1998 มี ซึ่งอาจเป็นเพราะ มีสภาวะโลกร้อนเป็นตัวเร่งด้วยก็ได้ เนื่องจากในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นครึ่งองศาเซลเซียส เป็นสิ่งที่นอกจากจะสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (ภาพที่ 5- 3)


     แล้วยังสอดคล้องกับช่วงระยะเวลาในการเกิดเอลนิโนด้วย(ภาพที่ 5- 13) นั่นแสดงให้เห็นว่าภูมิอากาศของโลกนั้นมีความหวั่นไหวอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆแม้แต่เพียงเล็กน้อย เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เปลี่ยนเพียงเล็กน้อยบนพื้นที่เล็กๆในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน ก็สามารถทำให้เกิดรูปแบบของความแห้งแล้งและอุทกภัยบนพื้นที่ต่างๆทั่วโลกซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยความแห้งแล้งที่เกิดบ่อยครั้งขึ้นนี้มีศักยภาพสูงในการทำลายป่าฝนในทุกๆ 2-3 ปี จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อป่าไม้ในเขตอเมซอน


    รวมทั้งทำลายป่าไม้ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยัง กระทบต่อระบบนิเวศน์ของสรรพชีวิตโดยเฉพาะสัตว์น้ำและกระตุ้นการระบาดของแมลงและโรคบางชนิด ในปัจจุบัน ยังมีปัญหาอีกมากมายให้นักวิทยาศาสตร์ต้องขบคิด เกี่ยวกับแนวโน้มของการเกิดที่บ่อยครั้งขึ้นของปรากกฎการณ์เอลนิโนและความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นของมัน เนื่องจากสภาวะโลกร้อน งานวิจัยจะช่วยแยกแยะความแปรปรวนตามธรรมชาติออกจากความแปรปรวนเนื่องจากฝีมือมนุษย์ หรือหาความเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอีกทศวรรษหน้า และผลกระทบต่างๆที่จะตามมา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
GoDaddy Auctions: The smart choice for buying & selling domain names, Low Yearly Fee