หนังสือสาร์นจากต่างดาว

Bestseller Britney Spear Midnight

Bestseller Britney Spear Midnight
น้ำหอมแบรนด์เนม ของแท้ 100% ถูกที่สุด

ร้านขายสตาร์วอร์


วิธีหาเงินเพิ่มรายได้

บล็อกเพื่อนบ้าน

# KonClip.com : ดู ละคร ย้อนหลัง,ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 9, ช่อง 11, TPBS, TV Online, คลิปผี

วิธีพัฒนาบุคลิคภาพ,การพัฒนาบุคลิกภาพ,พัฒนาตัวเองอย่างไร ,พัฒนตนเอง,การพัฒนาชีวิต ให้ดีขึ้น

วันเสาร์, พฤษภาคม 01, 2553

การพัฒนาบุคลิกภาพ
Personality Development

คำว่า “บุคลิกภาพ” (Personality) มาจากภาษาลาตินว่า “Persona” ซึ่งแปลว่า หน้ากากที่ตัวละครสมัยกรีก และโรมันสวมใส่เพื่อแสดงบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกัน ให้ผู้เห็นได้ในระยะไกล ๆ
นักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของคำว่า “บุคลิกภาพ” ไว้ต่าง ๆ ดังนี้
บุคลิกภาพ หมายถึง สภาวะทุกอย่างที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวบุคคล โดยหมายรวมถึงคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะทางจิตใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกระทำของบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ
บุคลิกภาพ เป็นหน่วยรวมของระบบทางกายและจิตภายในตัวบุคคล ซึ่งกำหนดลักษณะการปรับตัวเป็นแบบเฉพาะของบุคคลนั้นต่อสิ่งแวดล้อมของเขา บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลจะเห็นได้ชัดเจนจากลักษณะนิสัยในการคิดและการ แสดงออกรวมทั้งทัศนคติและความสนใจต่าง ๆ กิริยาท่าทาง ตลอดจนปรัชญาชีวิตที่บุคคลนั้นยึดถือ

ความสำคัญของการมีบุคลิกภาพดี
การมีบุคลิกภาพที่ดีนั้น จะเป็นผลให้บุคคลนั้นมีลักษณะสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในแง่ มุมต่าง ๆ ดังนี้
1. มีความสามารถในการรับรู้และเข้าใจในสภาพความจริงได้อย่างถูกต้อง
2. การแสดงอารมณ์จะอยู่ในลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม
3. มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ดี
4. มีความสามารถในการทำงานที่อำนวยประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมได้
5. มีความรัก และความผูกพันต่อผู้อื่น
6. มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาทางการแสดงออกของตนต่อผู้อื่นได้ดีขึ้น

ปัญหาการขาดความสามารถในการปรับตัวหรือการปรับบุคลิกภาพ
เมื่อบุคคลไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และบุคคลอื่น ที่แวดล้อม จะเป็นผลให้บุคคลนั้นมีลักษณะที่ไม่เป็นผลดีต่อตนเองใน การดำเนินชีวิต ดังนี้
1. เป็นคนที่มีอาการเคร่งเครียด
2. ทำให้มีอาการเจ็บป่วยทางกาย จากสาเหตุของความเครียด
3. หย่อนสมรรถภาพในการดำเนินชีวิต
แนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพ
การที่คนเราจะมีบุคลิกภาพดีนั้น มิใช่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพียง ภายนอกด้วยการแต่งกาย หรือพฤติกรรมที่แสดงออกเท่านั้น หากจำเป็นต้องมี การปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลิกภาพภายในเสียก่อนเป็นเบื้องต้น จึงจะทำให้ การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกประสบความสำเร็จได้
ในที่นี้จึงจะชี้ให้เห็นสาระสำคัญที่จะนำไปสู่ความสมบูรณ์ ในการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยแยกลักษณะของการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 2 ลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) เป็นความจำเป็นที่คนเรา จะต้องพัฒนาบุคลิกภาพภายในเสียก่อนเพื่อนำไปสู่การมีบุคลิกภาพภายนอกหรือการ มีการประพฤติปฏิบัติในด้านต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสถานภาพของตนเองสภาวการณ์แวดล้อม

สาระสำคัญของบุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) ที่เราจะต้องพัฒนามี ดังนี้
• การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
• ความกระตือรือร้น
• ความรอบรู้
• ความคิดริเริ่ม
• ความจริงใจ
• ความรู้กาละเทศะ
• ปฏิภาณไหวพริบ
• ความรับผิดชอบ
• ความจำ
• อารมณ์ขัน
• ความมีคุณธรรม
2. การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก (External Personality) เมื่อมีการพัฒนาบุคลิกภาพภายในดีแล้ว จะทำให้พฤติกรรม ท่าที การแสดงออกในด้านต่าง ๆ ของคนเรางดงาม เหมาะสม ทำให้ได้รับความชื่นชม การยอมรับ และศรัทธาจากบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดี สำหรับบุคลิกภาพภายนอกที่จำเป็นต้องพัฒนา มีดังนี้
• รูปร่างหน้าตา • การแต่งกาย
• การปรากฎตัว • กริยาท่าทาง
• การสบสายตา • การใช้น้ำเสียง
• การใช้ถ้อยคำภาษา • มีศิลปการพูด

ผู้ที่ประสงค์จะพัฒนาบุคลิกภาพของตนให้เพิ่มสิ่งที่ดีงามให้กับตนเอง การสั่งสมเช่นนี้ จำเป็นต้องอดทนและแน่วแน่ในความพยายามอย่างมุ่งมั่น บุคคลจึงจะประสบความสำเร็จในการพัฒนาบุคลิกภาพได้ ในที่สุด
Herbert Casson ได้เปรียบเทียบถึงความหวังกับความสำเร็จไว้อย่างน่าฟัง ดังนี้
• ความหวังนั้น เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์พืช มันจะไม่มีวันงอกงาม ถ้าคุณไม่ลงมือปลูกมัน
• ความหวังจะไม่กลายเป็นความจริงขึ้นมาได้ ถ้าคุณไม่มีความตั้งใจอย่างแรงกล้า ที่จะทำจนกว่าจะได้สิ่งที่คุณต้องการ
• ความหวังเพียงอย่างเดียว จะไม่นำมาซึ่งความสำเร็จหรือความสุขได้เลยและมักจะ นำความทุกข์มาสู่ผู้ที่ไม่มีความกล้าที่จะลงมือทำ
มีผู้ศึกษาถึงลักษณะบุคลิกภาพของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ โดยจัดลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้
1. ความเฉลี่ยวฉลาด
2. ความมั่นใจในตนเอง
3. สมาคมกับผู้อื่นได้ดี
4. มีเจตจำนงแน่วแน่
5. มองโลกตามความเป็นจริง
6. มีความเด่นหรือความมีอำนาจ
7. มีทัศนคติในเชิงบวกต่อมนุษย์

การพัฒนาบุคลิกภาพ กับการสร้างความสำเร็จในชีวิต
การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นหนทางสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ความสำเร็จ ในชีวิตเพราะการที่คนเราจะสร้างความสำเร็จในชีวิตได้ จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถสำคัญ 3 ประการ
1. ความสามารถในการครองตน คือจะต้องดูแลตนเองให้กินดีอยู่ดีมีความพอใจในชีวิตและลิขิตชีวิตตัวเองได้
2. ความสามารถในการครองคน คือสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีเป็นที่รักใคร่ของญาติมิตร รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้ความสำคัญกับผู้อื่นจนชนะใจผู้อื่นได้
3. ความสามารถในการครองงานคือสามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จในงานอาชีพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความก้าวหน้าในงานที่รับผิดชอบ

บุคลิกภาพหรือคุณลักษณะที่เป็นข้อบกพร่องของนักบริหารทั่วไป
มีผู้ศึกษาและรวบรวมข้อผิดพลาดที่นักบริหารมักประพฤติปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป ซึ่งควรจะพิจารณาสำรวจและแก้ไขปรับปรุงดังนี้
1. ไม่รักความก้าวหน้า
2. รอบรู้ในวงจำกัด
3. ขาดความรับผิดชอบ
4. ไม่กล้าตัดสินใจ
5. ไม่หมั่นตรวจสอบ
6. สื่อความหมายคลุมเครือ
7. มอบหมายงานไม่เป็น
8. ชอบเข้าข้างตัวเอง
9. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
10. แสวงหาผลโดยมิชอบ
11. ไม่รักษาคำพูด
12. เป็นตัวอย่างที่เลว
13. อยากเป็นที่ชื่นชอบ
14. ไม่เห็นใจลูกน้อง
15. มองข้ามความสามารถ
16. ไม่อบรมพัฒนา
17. บ้ากฎระเบียบ
18. ขาดศิลปะในการวิจารณ์
19. ไม่ใส่ใจในคำร้องทุกข์
20. อ่อนประชาสัมพันธ์
21. ไร้มนุษยสัมพันธ์
22. ไม่สร้างฐานรองรับ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวและการพัฒนาบุคลิกภาพ
1. แบบแผนทางวัฒนธรรมกับสิ่งแวดล้อม
2. สถานะทางเศรษฐกิจ – สังคม
3. แบบแผนของสถาบัน ชุมชน สังคม
4. ค่านิยม หลักการ ปรัชญาในการมีชีวิต
5. สุขภาพจิต (ลักษณะความอบอุ่นในครอบครัวทั้งในอดีตและปัจจุบัน)
6. การศึกษา (โรงเรียน, แบบแผนของสถาบันการศึกษา)
7. ความต้องการ แรงขับกระตุ้น (ในแง่จิตวิทยา)
8. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น เพื่อน อาชีพ ฯลฯ

อะไรคือตัววัดบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคล ดังนั้นการศึกษาหาบุคลิกภาพของบุคคล จึงพิจารณาได้จากลักษณะหรือตัววัดที่สำคัญ ประการ
1. คำพูดที่สื่อความรู้สึกนึกคิด
2. อากัปกริยาที่แสดงออก
3. การเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

สรุป
การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นคุณค่าต่อชีวิตที่มีคุณภาพของมนุษย์ ไม่ว่าจะมองในแง่ความสุขในการมีชีวิตครอบครัว ชีวิตในสังคม และในการทำงาน หรือในแง่ของความสำเร็จในชีวิตอันเป็นที่พึง ปรารถนาของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม
ดังนั้น หากมีความปรารถนาและมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่สักวันหนึ่งท่านก็จะเป็น ผู้ที่เพียบพร้อมไปด้วยบุคลิกภาพอันงดงามอย่างแน่นอน จงตั้งความหวังและลงมือกระทำตั้งแต่บัดนี้

ภาวะผู้นำกับประสิทธิภาพการบริหาร

ภาวะผู้นำ (Leadership style)
ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการมิใช่บุคคล ถึงแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับความชอบธรรมในการใช้อำนาจของตัวผู้นำ
ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการของการมีอิทธิพลเหนือกลุ่ม เพื่อการกำหนดเป้าหมาย และการบรรลุเป้าหมายของกลุ่ม และหากกล่าวถึงความเข้มแข็งของภาวะผู้นำในองค์การ ก็ดูได้จากความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวเท่านั้น

องค์ประกอบภาวะผู้นำ
ปฏิสัมพันธ์ (Transaction) ของภาวะผู้นำนั้น มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ประการคือ สถานการณ์ ผู้นำ และผู้ตาม

องค์ประกอบ 3 ประการของผู้นำ
สถานการณ์
-งานและทรัพยากร
-โครงสร้างและกฎระเบียบทางสังคม
-ลักษณะทางกายภาพ ขนาดความหนาแน่น
-ประวัติศาสตร์ ฯลฯ

ผู้นำ
-ความชอบธรรม
-ความสามารถ
-การจูงใจ
-ลักษณะทางบุคลิกภาพ ฯลฯ

ผู้ตาม
-ความคาดหวัง
-ลักษณะทางบุคลิกภาพ

-ความสามารถ

-การจูงใจ ฯลฯ

ผู้นำมาจากไหน
* มหาบุรุษนั้นเกิดมาเพื่อที่จะเป็นมหาบุรุษ (Frederick Woods)

* สิ่งที่กำหนดความยิ่งใหญ่ประกอบด้วย ตัวบุคคลสภาพแวดล้อมทางสังคม และประวัติศาสตร์ (Spiller)

บุคลิกของผู้นำ

ลำดับลักษณะบุคลิกของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ อันได้แก่

1. ความเฉลี่ยวฉลาดมีปัญญา ปฏิภาณ

2. ความมั่นใจในตนเอง

3. สมาคมกับผู้อื่นได้ดี

4. มีเจตจำนงแน่วแน่

5. มองโลกตามความเป็นจริง

6. มีความเด่นหรือความมีอำนาจ

7. มีทัศนคติในเชิงบวกต่อมนุษย์ ฯลฯ

ทัศนะของ Harell ลักษณะบุคลิกที่จะทำให้ผู้นำประสบความสำเร็จ มี 4 ประการ คือ

1. มีเจตจำนงอันแน่วแน่

2. เปิดเผย

3. ต้องการอำนาจ

4. ต้องการความสำเร็จ

ผู้ตาม (The led)

ถ้าไม่มีผู้ตาม ย่อมจะมีผู้นำไม่ได้ ดังนั้นภาวะผู้นำ จึงมี ความสัมพันธ์กับผู้ตามอย่างใกล้ชิดและสัมพันธภาพระหว่างผู้นำ กับผู้ตามที่ดีนั้น ย่อมแปรไปตามชนิดหรือแบบของผู้ตาม

สถานการณ์ (Situation)

นอกจากลักษณะของผู้ตามแล้ว ลักษณะของสถานการณ์จะเข้ามามีส่วนในการกำหนดประเภทหรือแบบของผู้นำ บุคคลหนึ่งอาจเป็นผู้นำในสถานการณ์หนึ่ง แล้วกลายเป็นผู้ตามในอีกสถานการณ์หนึ่ง สถานการณ์ที่แตกต่างกันต้องการผู้นำแบบต่างกันในหน่วยงานหรือองค์การหนึ่ง ๆ นั้นย่อมมีเหตุการณ์/สถานการณ์ที่แตกต่างกัน

กรอบทฤษฎีแบบของภาวะผู้นำตามสถานการณ์

แบบของภาวะผู้นำตามสถานการณ์จำแนกได้ต่าง ๆ กันดังนี้
1.แบบอัตตาธิปไทย(autocratic) ผู้นำแบบนี้จะทำการตัดสินใจด้วยตัวเองโดยไม่ปรึกษาหารือกับสมาชิกกลุ่ม

2. แบบมีส่วนร่วม (participative) ผู้นำแบบนี้ จะทำการตัดสินใจโดยอาศัยความคิดเห็นจากสมาชิกภายในกลุ่ม

3. แบบเสรี (laissez faire) ผู้นำแบบนี้จะพยายามมอบความรับผิดชอบ ในการติดสินใจให้กับสมาชิกกลุ่ม พยายามกระทำให้สิ่งที่กลุ่มต้องการทำ

Reddin 3-D theory ซึ่งได้จำแนกภาวะผู้นำออกเป็น 4 กลุ่ม

(1) ภาวะผู้นำในสถานการณ์แบ่งแยก (Separated Situations) ซึ่งจะมีภาวะผู้นำ 2 แบบ

* แบบท้อแท้ – สิ้นหวัง (Deserter)

* แบบขุนนาง (Bureaucrat)

(2) ภาวะผู้นำในสถานการณ์ที่ต้องสัมพันธ์กับคน (People Related Situation)

* นักแสวงบุญ (Missionary)

* นักพัฒนา (Developer)

(3) ภาวะผู้นำในสถานการณ์ที่อุทิศตนให้กับงาน (Dechicated task)

* อัตตนิยม (autocrat)

* เผด็จการ (แบบมีศิลป์) (Benevolent)

(4) สถานการณ์ผสมผสาน (Integrated Situations)

* นักบริหาร (Executive)

* นักประนีประนอม (Compromiser)

ระดับตำแหน่งกับภาวะผู้นำในองค์การ

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปัจจัยทางด้านสถานการณ์นั้นย่อมมีความแตกต่างกันไป ในองค์การหนึ่ง ๆ ก็เช่นกันและเพื่อความกระจ่างในประเด็นนี้ก็จะขอผ่านองค์การออกเป็น 3 ส่วน มีผู้บริหาร 3 ระดับใหญ่ ๆ คือ

1. ผู้บริหารระดับสูง (Top management)

2. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle management) อันได้แก่ผู้อำนวยการกอง, หัวหน้าฝ่าย

3. ผู้บริหารระดับล่าง (Supervisory Level) อันได้แก่ หัวหน้างาน

ในการพิจารณาว่าผู้บริหารในระดับใด จำเป็นต้องมีทักษะในด้านใด เพื่อให้ภาวะผู้นำมีประสิทธิภาพนั้น ก็จะพิจารณาจากระดับของผู้บริหารดังกล่าว ซึ่งทักษะของผู้บริหารที่จำเป็นต้องมีนั้นมี 3 ประเภทคือ

1. ทักษะทางด้านความคิด (Conceptual skill)

2. ทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human relations skill)

3. ทักษะทางด้านเทคนิค (Technical skill)

ผู้บริหารระดับสูง (Top management)

1. ผู้บริหารระดับสูงนั้นจะเกี่ยวข้องอยู่กับการจัดทำแผนแม่บทและการจัดรูป องค์การเพื่อการดำเนินงาน

2. บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งระดับนี้จะต้องอาศัยความช่วยเหลือในการอำนวยงาน และการควบคุมงานจากระดับรองลงมา

3. ผู้บริหารระดับนี้จำเป็นต้องมีทักษะทางด้านความคิดสูงกว่าระดับอื่น เพื่อใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์และภาพรวมของหน่วยงาน และเพื่อปรับปรุงองค์การให้สามารถดำรงคงอยู่และพัฒนา

ผู้บริหารระดับกลาง (Middle management)

1. บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางนี้จะเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในลักษณะ ของจัดแจง (intermediary) ของผู้บริหารระดับสูงและระดับหัวหน้างาน

2. เป็นผู้นำนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงลงมาระดับล่าง และนำเอากรณีไม่ปกติจากระดับล่างขึ้นไปยังระดับสูง

3. พัฒนาระดับและกระบวนวิธีการปฏิบัติงาน นโยบายและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่จะทำให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. งานของผู้บริหารระดับนี้ไม่ได้อยู่ที่การวางแผนจัดองค์กร อำนวยงาน และควบคุมเท่านั้น แต่ยังต้องประสานงานกับผู้ร่วมงาน staff

5. ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักบริหารระดับนี้คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์

ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน
(Supervisory Management)

1. เป็นระดับเดียวที่อยู่ระหว่างนักบริหารด้านหนึ่งและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ที่ไม่มีอำนาจ ในการบริหารอีกด้านหนึ่ง

2. เป็นผู้ที่อยู่ภายใต้แรงกดดันค่อนข้างมากในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย จากระดับสูงให้บรรลุเป้าหมาย

3. เป็นผู้ที่ถูกลากระหว่าง 2 ฝ่ายไป 2 ทิศทางเสมอ ๆ

4. ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในลำดับขั้นของการบังคับบัญชา

5. เป็นสะพานเชื่อมระหว่างพนักงานปฏิบัติงานกับฝ่ายบริหาร

6. เป็นระดับที่ภาวะผู้นำต้องมี Technical skill สูงกว่าอีก 2 ระดับ

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณ ขออนุญาตนำเผยแพร่

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
GoDaddy Auctions: The smart choice for buying & selling domain names, Low Yearly Fee