คู่มือการตรวจสอบและซ่อมแซมอาคารบ้านเรืองหลังน้ำท่วม ตามเอกสารแนบ แบ่งเป็นหัวข้อ ดังนี้ 1. โครงสร้าง 2. งานสถาปัตยกรรม ตกแต่งภายใน และงานจัดสวน 3. ระบบสุขาภิบาล 4. ระบบไฟฟ้า 5. เครื่องกล อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แนะวิธีตรวจสอบระบบไฟฟ้า-โครงสร้างอาคาร หลังน้ำลด เพื่อป้องกันความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดเผยว่า การตรวจสอบระบบไฟฟ้าและโครงสร้างอาคารหลังจากน้ำลด ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งการตรวจสอบระบบไฟฟ้า เมื่อกลับเข้าบ้านให้เปิดคัทเอ้าท์ เพื่อให้มีกระแสไฟฟ้าเข้า หากจุดใดในระบบยังเปียกชื้นอยู่คัทเอ้าท์จะตัดไฟ ให้เปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน เพื่อให้ความชื้นระเหยออกไป และให้ลองเปิดสวิตซ์ไฟฟ้าทีละจุด ตรวจเช็คการทำงานของทุกจุด จากนั้นให้ลองดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แต่เปิดคัทเอ้าท์ทิ้งไว้ แล้วให้ตรวจเช็คมิเตอร์ไฟฟ้าว่าหมุนหรือไม่ หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านเป็นปกติ หากมิเตอร์หมุนแสดงว่าอาจเกิดไฟฟ้ารั่วภายในบ้าน ให้ตามช่างไฟมาตรวจเช็ค และหากต้องการป้องกันระบบไฟฟ้าจากภาวะน้ำท่วมในอนาคต ให้ปรับตำแหน่งปลั๊กไฟทั้งหมดภายในบ้านไปอยู่ที่ระดับประมาณ 1.10 เมตรจากพื้นบ้าน หรือแยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 2-3 วงจร เพื่อความสะดวกต่อการควบคุมการเปิด-ปิดและซ่อมแซมบำรุงรักษาวงจรไฟฟ้าในบ้าน ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วม เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า อย่าเพิ่งเปิดใช้โดยเด็ดขาด เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ควรนำช่างมาตรวจเช็คให้แน่ใจก่อน ส่วนโครงสร้างอาคาร ที่จมน้ำอยู่เป็นเวลานาน เช่น ฝ้าเพดาน รั้วคอนกรีต ประตู-หน้าต่างที่ทำจากไม้ อาจก่อให้เกิดการบวม หรือเปื่อยยุ่ย หากฝ้าเพดานเปื่อยยุ่ยให้เลาะออกและติดตั้งใหม่ เพื่อป้องกันฝ้าเพดานร่วงหล่นลงมา หากประตู-หน้าต่างไม้ที่เกิดการบวมและบิดตัว ควรปล่อยให้แห้งสนิทก่อน จึงค่อยทาสีใหม่ หากโครงสร้างเป็นเหล็กและเกิดสนิม ให้ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมดก่อนทาสีใหม่พร้อมยากันสนิม แล้วค่อยทาสีใหม่ ที่มา : tpbs
1. โครงสร้าง
โครงสร้างถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในด้านความปลอดภัย จึงควร
รีบตรวจสอบโดยสังเกตอาการและแนวทางการแก้ไขดังต่อไปนี้
• รั้วบ้านเอียง ถ้าเอียงมากจนออกนอกแนวศูนย์ถ่วง รั้วอาจล้มลงได้
ให้รีบซ่อมแซมกลับมาให้ได้แนวตรงเหมือนเดิม ถ้าถูกน้ำเซาะจน
ฐานรากโผล่หรือเห็นลอยตั้งอยู่บนเสาเข็ม ให้เอาดินถมกลับคืนไปมิฉะนั้น
เสาเข็มอาจหักทำให้รั้วพังลงมาได้ ส่วนรั้วทรุดตัวไม่เท่ากัน ต้องให้
ช่างผู้ชำนาญมาทำการเสริมฐานรากยกกลับขึ้นมาให้อยู่ในระดับเดิม
• อาคารทรุดเอียง จะต้องดีดยกอาคารและเสริมฐานรากโดยต้อง
ปรึกษาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
• ฐานรากถูกน้ำเซาะ ถ้าฐานรากถูกน้ำเซาะจนดินที่ห่อหุ้มฐานราก
หายไป เมื่อตรวจดูแล้วพบว่าฐานรากยังตั้งตรงอยู่ในสภาพปกติไม่ทรุด
ไม่แตกร้าว ก็ให้ถมดินกลับคืนไป แต่ถ้าฐานรากเกิดเอียง หรือทรุดตัวลง
หรือแตกร้าว อันนี้คงแก้ไขเองไม่ได้ ต้องให้วิศวกรมาตรวจสอบเพื่อ
แก้ไขซ่อมแซมต่อไป
2. งานสถาปัตยกรรม ตกแต่งภายในและงานจัดสวนอาคารวางบนดินอาคารยกใต้ถุนสูงเหนือระดับดิน4อาคารที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เมื่อระดับน้ำลดลงแล้วมีข้อแนะนำดังนี้1. ถ้าพื้นอาคารวางบนดิน ใต้พื้นอาคารจะยังคงมีความชื้นสะสมอยู่มากถ้ารอบอาคารน้ำยังลดไม่หมดควรทำคันกั้นน้ำ โดยใช้กระสอบทรายเป็นเขื่อนก็ได้พื้นภายในจะได้แห้งเร็วขึ้น ส่วนช่องว่างที่มีดินโคลนทับถมอยู่ให้ล้างทำความสะอาดก่อนโดยเร็วก่อนโคลนแข็งตัว2. ถ้าอาคารยกใต้ถุนสูงเหนือระดับดิน อย่าให้น้ำขังสะสมใต้ถุนอาคารแก้ไขโดยถ้าใต้ถุนอับทึบระบายอากาศไม่ดีให้ทุบผนังและให้ทำผนังเปิดให้มีการระบายอากาศให้มากที่สุดอาคารทั้ง 2 ประเภทนี้ จะมีส่วนพื้นและผนังอาคารได้รับความเสียหายมากกว่าอาคารที่สูง 2 ชั้นขึ้นไป โดยหลักการคือ ให้อาคารระดับชั้นล่างมีการระบายความชื้นออกให้หมด ถ้าพื้นเสียหายมากก็ให้เอาวัสดุที่ปูไว้สกัดออกก่อน และควรเปิดหน้าต่างทิ้งไว้เพื่อไล่ความชื้นออก และภายในมีการถ่ายเทอากาศห้องน้ำชั้นล่างก็ให้สำรวจตำแหน่งบ่อเกรอะบ่อซึม แก้ไขรอบบริเวณอย่าให้มีน้ำขังต้องให้แห้งและห้องน้ำชั้นล่างควรระงับการใช้งานไว้ก่อน ส่วนความเสียหายของวัสดุต่าง ๆ มีข้อแนะนำ ดังนี้5รั้วบ้านรั้วเหล็ก เป็นสนิมให้ขัดสนิมออกก่อนทาสีใหม่รั้วไม้ ผุ หรือ หัก ให้ถอดเปลี่ยนรั้วคอนกรีตโดยปกติแล้วจะไม่เสียหายเพียงแต่อาจสกปรกให้ล้างทำความสะอาดปล่อยให้แห้งก่อนทาสีใหม่6ประตูเหล็กขึ้นสนิม ต้องขัดสนิมออกเช็ดให้แห้ง ทาสีใหม่ประตูเอียงหรือตกประตูไม้เมื่อแช่น้ำนาน ๆ จะอมน้ำทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น บานพับรับน้ำหนักไม่ไหว ตัววงกบเปื่อยยุ่ย น๊อตหรือตะปูยึดได้ไม่แน่น แก้ไขโดยใช้ลิ่มไม้หรือเหล็กสอดรับน้ำหนักของบานให้ตั้งตรงไว้ก่อน รอจนความชื้นระเหยออกไป น๊อตหรือตะปูก็จะยึดได้แน่นขึ้นสามารถเอาลิ่มออกได้ แต่ถ้าวางกบผุพังก็จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ถ้าเป็นห้องน้ำจะเปลี่ยนเป็นวงกบและประตู พี.วี.ซี ก็ได้จะได้ไม้เกิดปัญหาขึ้นอีก7ผนังผนังที่เป็นไม้ปล่อยให้แห้งก็เพียงพอ แต่ถ้าผนังบางจุดที่แช่น้ำขึ้นน้ำลงอาจผุได้ ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดปล่อยให้แห้งสนิทก่อนทาสีหรือแลคเกอร์ผนังที่เป็นปูน โดยทั่วไปแล้วจะไม่เสียหาย เมื่อน้ำลดลงแล้วใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดปล่อยให้แห้งสนิทก่อนทาสี การทาสีถ้าให้ได้ผลดีจะต้องทาสีรองพื้นปูนเก่าก่อนทาสีจริงผนังที่เป็นยิบซั่มบอร์ด เมื่อถูกน้ำท่วมยิบซั่มบอร์ดจะเสียหาย เพราะทำด้วยผงปูนยิบซั่มหุ้มด้วยกระดาษ ให้เลาะออกแล้วบุเข้าไปใหม่ซึ่งจะต้องปล่อยให้โครงเคร่าและด้านในผนังแห้งก่อนบุเข้าไปใหม่ มิฉะนั้นความชื้นจะถูกกักอยู่ข้างใน8สีเมื่อเกิดน้ำท่วมขัง สีจะได้รับความเสียหาย หลุดร่อน ขึ้นรา พุพอง ก่อนจะทาใหม่ จะต้องทำความสะอาดหรือลอกสีเดิมออกก่อน เพราะถ้าหากทับไปเลยจะอยู่ได้ไม่นานก็จะเกิดการหลุดร่อนออกมาอีกถ้าพวกเหล็กจะต้องขัดสนิมออกให้หมดก่อนทาสีน้ำมันสีที่เหมาะสมสำหรับทาปูนหรือกระเบื้องแผ่นเรียบหรือยิบซั่มบอร์ด คือสีพลาสติก สีที่เหมาะสมสำหรับทาโลหะหรือไม้คือ สีน้ำมัน9ปาเก้ปาเก้ลอย หลุดร่อน เปิดหน้าต่างประตูให้อากาศถ่ายเทความชื้นออกไปอย่าพึ่งทายูริเทนพื้นปาเก้จนกว่าจะแห้งสนิท ให้เลาะเอาปาเก้ที่บิดงอออกใส่ปาเก้แผ่นใหม่เข้าไปแทน ยึดติดพื้นโดยใช้กาวลาเท็กซ์ ขัดปาเก้ใหม่ให้สูงเสมอกับปาเก้เดิมก่อนทายูริเทน หากจะเลาะปาเก้เก่าออกเปลี่ยนพื้นโดยใช้วัสดุใหม่ขอให้คำนึงถึงน้ำหนักด้วย เช่น การปูกระเบื้องหรือหินอ่อนหรือหินแกรนิต ก่อนทากาวลาเท็กซ์เพื่อติดปาเก้กับพื้น ต้องรอให้คอนกรีตแห้งสนิทก่อนมิเช่นนั้นแล้วปาเก้จะร่อนออกมา10เฟอร์นิเจอร์โต๊ะเตียง เก้าอี้ ตู้โชว์ ตู้เสื้อผ้า การแก้ไขหลังน้ำลด1) พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้เร็วที่สุด2) เฟอร์นิเจอร์ที่อมน้ำมาก เช่น โซฟานวม ที่นอน หมอน หากไม่จำเป็นไม่ควรนำกลับมาใช้อีกเพราะตอนน้ำท่วมจะพาเชื้อโรคเข้าไปอยู่ภายใน แม้ตากแดดแห้งแล้วเชื้อโรคอาจยังอยู่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้113) เฟอร์นิเจอร์ประเภทติดกับที่ (Built-In) ต้องตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง สายไฟที่ฝังอยู่ในตู้ รูกุญแจ ทำการซ่อมแซมโครงสร้างให้อยู่ในสภาพเดิมหรือใกล้เคียงของเดิม4) เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ไม่ควรนำไปตากแดดให้แห้ง เพราะจะทำให้แตกเสียหายได้ และเมื่อจะทาสีทับลงไปจะต้องรอให้ไม้แห้งสนิทก่อน12พรมพรมถูกน้ำท่วมให้รีบรื้อพรมออกให้หมดโดยเร็วเพื่อไม่ให้พรมเน่าส่งกลิ่นเหม็น แล้วนำพรมไปซักและตากแห้งก่อนนำกลับมาปูใหม่ แต่ ก่อนปูควรจะให้แน่ใจว่าพื้นคอนกรีตแห้งสนิทแล้ว (แต่ทางที่ดี หากรู้ว่า จะถูกน้ำท่วมพรมแน่ควรรื้อพรมออกมาก่อนที่น้ำจะท่วมขึ้นมาถึง การซักและตากอาจจะไม่สะอาดและดีเหมือนเดิม)13ฝ้าเพดานฝ้าเพดานถูกน้ำท่วม ถ้าเป็นยิบซั่มบอร์ดหรือกระดาษอัดคงจะต้องเลาะออกแล้วเปลี่ยนใหม่ เพราะกระดาษจะเปื่อยยุ่ย เมื่อน้ำ ลดแล้วให้ตรวจดูว่าสายไฟฟ้าดวงโคมที่ติดอยู่มีอะไรเสียหายหรือไม่ ต้องซ่อมแซมเปลี่ยนใหม่หรือไม่ มีแมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานเข้าไปหลบอยู่ในฝ้าเพดานหรือไม่ ถ้ามีต้องไล่หรือจับออกไปก่อนบุฝ้าใหม่ผ้าม่านเป็นคราบสกปรก ให้ถอดจากราวออกมาซักวอลล์เปเปอร์วอลล์เปเปอร์ลอก ร่อน ให้ลอกออกก่อนเพื่อให้ความชื้นระเหยออกมาได้ เมื่อผนังแห้งจึงให้ช่างมาลอกออกให้หมดก่อนปูใหม่14กระเบื้อง หินอ่อนโดยปกติแล้วจะไม่เสียหาย เพียงขัดทำความสะอาดก็จะกลับมาใช้ได้เหมือนเดิมหินขัด หินแกรนิตพื้นหินอ่อนและหินขัดอาจต้องใช้เวลาขัดมากหน่อย ถ้าจะให้สวยงามเหมือนเดิมต้องจ้างช่างใช้เครื่องมาขัด15ต้นไม้อย่าพึ่งให้ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยคอก เพราะน้ำท่วมรากต้นไม้อ่อนแอ ต้องใช้เวลาพักฟื้น ขุดหลุมขนาดเล็กลึก 50 ซม.ถึง 1 เมตร ไว้ข้าง ๆ ต้นไม้ เพื่อให้น้ำที่ขังอยู่บริเวณรากไหลลงสู่หลุมที่ขุดไว้ แล้วค่อยดูดหรือตักน้ำออกจากหลุม ทำให้น้ำที่ท่วมรากอยู่ลดลงเร็วยิ่งขึ้น อย่าให้ดินอัดลงไปที่โคนต้นไม้ให้แน่น ควรใช้วิธีดามหรือค้ำยันลำต้นไว้ไม่ให้ล้ม ตัดแต่งกิ่งที่ตาย พรวนดินรอบโคนต้นเพื่อให้รากของพืชหายใจได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรค และเพื่อให้น้ำที่ขังอยู่ระเหยออกได้เร็วขึ้น บำบัดรักษาให้ยาฆ่าแมลง และโรคที่เกิดแก่ต้นไม้ เปลี่ยนต้นไม้ที่ตายหรือไม่เจริญเติบโตสนามหญ้าเมื่อเกิดน้ำ ท่วมขังนานหญ้าจะตายหมด ต้องปูใหม่ ถ้ามีตะกอนดินเหนียวถูกน้ำพัดพามาทับถมที่สนามหญ้าจะต้องปรับพื้นที่ให้ได้ระดับก่อนลงทราย ขี้เป็ดแล้วค่อยปูหญ้าใหม่
ส้วมเหม็น ส้วมเต็ม ราดน้ำไม่ลง ก่อนจะแก้ปัญหานี้เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ส้วมแบบโบราณ ของเราคือส้วมซึม บ่อบำบัดที่ใช้กันมาก็คือบ่อเกรอะบ่อซึม ถ้าสร้าง ในพื้นที่ที่มีน้ำในดินมาก ๆ เช่น กรุงเทพ อยุธยา หรือพื้นที่ใกล้ สระน้ำ แม่น้ำลำคลอง บ่อเกรอะบ่อซึมก็จะทำงานได้ไม่ดีนักอยู่แล้ว เพราะอาศัย การซึมลงดิน ถ้าน้ำในดินมากก็จะซึมได้ไม่ดี ยิ่งถ้าน้ำท่วมแล้วยิ่งไม่ซึมเอา เลยทีเดียว ดังนั้น ถ้าน้ำลดแล้วหากพอมีเงินอยู่บ้างก็ควรเปลี่ยนเป็นบ่อบำบัด สำเร็จรูป ที่มีขายทั่วไปในท้องตลาด แต่หากยังไม่พร้อมอยากจะทำ อย่างพอเพียงไปก่อน ก็ให้รถสูบส้วมมาสูบดินโคลนทิ้งไปก่อน และ บ่อเกรอะบ่อซึมก็จะใช้งานได้อีกครั้งหนึ่ง 18
4. ระบบไฟฟ้า 4.1 แผงสวิตช์ไฟฟ้า (แผงคัทเอาท์, แผงสวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ) เป็น แผงควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านที่ต่อจากมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ 4.1.1 คัทเอาท์ ปัจจุบันใช้น้อยลงมาก ประกอบด้วย ฐานคัทเอาท์ ทำด้วยกระเบื้อง มีสะพานไฟเป็นทองแดงพร้อมคันโยกกระเบื้อง สำหรับยกขึ้นเพื่อตัดและต่อไฟจากการไฟฟ้าฯ หลังสะพานไฟที่มีคันโยก มี ฟิวส์ตะกั่วต่ออยู่เพื่อป้องกันกระแสเกิน บางบ้านอาจมีฟิวส์ลูกถ้วยต่อ อยู่ด้วย ภายหลังน้ำลดให้สำรวจตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด หากพบว่าอุปกรณ์อยู่ในสภาพแห้งพร้อมใช้งานไม่มีส่วนใดแช่น้ำอยู่ ให้ทดลองยกสะพานไฟของคัทเอาท์ขึ้น ถ้าฟิวส์ไม่ขาดแสดงว่าระบบไฟฟ้าใช้ได้อยู่ ถ้าฟิวส์ขาดต้องตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป ฟิวส์30A 600Vฟิ600V30A 600Vคัทเอาท์ฟิวส์ 30A 600V30A ฟิวส์ลูกถ้วย ฟิวส์ลูกถ้วย ฟิวส์ตะกั่ว 30A 600Vคัทเอาท์ฟิวส์ 600V30A ฟิวส์ลูกถ้วย 22 4.1.2 แผงสวิตช์อัตโนมัติ สังเกตุได้ว่าจะเป็นตู้เหล็ก หรือ ตู้พลาสติกที่ต่อรับไฟฟ้าจากมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ เช่นเดียวกับคัทเอาท์ ปัจจุบันมีใช้มากขึ้นกับบ้านรุ่นใหม่ ๆ และจะแบ่งวงจรไฟฟ้าง่ายๆ เป็นชั้นบนกับชั้นล่างและยังแบ่งออกไปอีกเป็นวงจรปลั๊ก วงจรโคมไฟ วงจรแอร์ วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งควบคุมด้วยสวิตช์อัตโนมัติของแต่ละวงจรการตรวจสอบ แผงสวิตช์อัตโนมัติ ให้ใช้ดึงคันโยกของสวิตช์อัตโนมัติเมนและย่อยแต่ละตัวลงก่อน แล้วทดลองยกคันโยกของสวิตช์ ตัวเมนขึ้น แล้วค่อยยกคันโยกสวิตช์ย่อยขึ้นทีละตัว ถ้าตัวไหนตกลงมาแสดงว่าวงจรนั้นมีปัญหา หรือเมื่อยกตัวสวิตช์ย่อยขึ้นทำให้ตัวเมน ตกลงมาวงจรย่อยนั้นมีปัญหาที่จะต้องตรวจสอบต่อไป สำหรับตัวสวิตช์ย่อยที่ยกขึ้นแล้วไม่ตกลงมาสามารถใช้งานได้ตามปกติ NLGNหลักสายดินคันโยกแผงสวิตช์อัตโนมัติเส้นไฟ 23 4.2 ปลั๊กและสวิตช์ไฟฟ้าขณะน้ำท่วมไม่มีการใช้งาน ให้ถอดออกมา ทำความสะอาดและทำให้แห้งก่อนต่อกลับที่เดิม ควรมีความรู้ด้านเทคนิค พอสมควรและทดลองใช้งาน ทั้งนี้ก่อนทำต้องดึงคัทเอ้าท์หรือสวิตช์อัตโนมัติลงก่อนแล้วใช้ไขควงสำหรับเช็คไฟฟ้า หรือ เครื่องวัดไฟฟ้า วัดดูก่อนว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมาที่สวิตช์หรือปลั๊กเมื่อทดลอง ใช้งานปลั๊กกับสวิตช์แล้วใช้ไม่ได้ให้เปลี่ยนเป็นจุดๆ ไป สวิตช์ ปลั๊ก 24 4.3 ปลั๊กไฟฟ้าที่น้ำท่วมถึงควรยกตำแหน่งให้สูงขึ้น จะสังเกตจากคราบน้ำท่วม และควรแยกวงจรปลั๊กไฟฟ้าจะสะดวกในการใช้งาน ในอนาคต และควรให้ช่างไฟฟ้าดำเนินการ พื้นชั้น 1.พื้นชั้น 2.คราบน้ำท่วมเดิม จมน้ำใหม่ ย้ายให้สูงขึ้น~~ 25 4.4 การตรวจไฟฟ้ารั่วเบื้องต้น ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทั้งหมด จากนั้นให้สังเกตการหมุนของมิเตอร์ หากมิเตอร์ยังหมุนอยู่แสดงว่ามีไฟรั่ว ให้ปิดคัทเอาท์ลง จากนั้นไปตามช่างของการไฟฟ้าฯ หรือช่างผู้มีความรู้ ด้านไฟฟ้ามาตรวจสอบ อย่าพยายามแก้ไขเอง เนื่องจากอาจถูกไฟดูดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สายต่อหลักดิน มิเตอร์ 5(15) ตัวนำประธานระบบสายอากาศ A ปิดการใช้ไฟฟ้าแล้ว มิเตอร์หมุน แสดงว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่ว 26 4.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่องซักผ้าหรือมอเตอร์ปั้มน้ำ ถ้ายกหนีน้ำท่วมไม่ทันหรือแช่น้ำอยู่ โดยทั่วไปจะ เสียหายจะใช้งานไม่ได้ทันที แม้จะแห้งแล้วก็ตามควรให้ช่างผู้ชำนาญ เป็นผู้ดำเนินการตรวจเช็ค หรือซ่อมเสียก่อน ถึงจะต่อไฟฟ้าใช้งานต่อไป 0123 ตู้เย็น พัดลม เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า 27 4.6 น้ำท่วมทำให้ไฟฟ้าเสียหายมาก แนะนำให้ติดตั้งใหม่ ใช้แผงสวิตช์อัตโนมัติแยกวงจรเป็นชั้นบน ชั้นล่าง และแต่ละชั้นแยกเป็นวงจรโคมไฟ และวงจรปลั๊กไฟฟ้า NLหลักสายดินพื้นชั้น 2.พื้นชั้น 1.GN โคมไฟ สวิตช์ไฟ ปลั๊กไฟฟ้า โคมไฟ สวิตช์ไฟ ปลั๊กไฟฟ้า
5. ระบบเครื่องกล 5.1 เครื่องปรับอากาศ (AIR CONDITIONING) ในปัจจุบัน เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป เป็นแบบ ระบบแยกส่วนระบายความร้อนด้วยลม (AIR-COOLED SPLIT SYSTEM) ส่วนที่อยู่ภายในอาคารที่เป็นเครื่องส่งลมเย็นเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (FAN-COIL UNIT) หรือ คอยล์เย็น ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ค่อยน่าจะได้รับความ เสียหายจากปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากส่วนมากติดตั้งอยู่บนตำแหน่งที่ น้ำท่วมไม่ถึง คอยล์เย็น (FAN-COIL UNIT) ส่วนที่อยู่ภายนอกอาคารเป็นส่วนที่ใช้ระบายความร้อน เรียกว่า คอนเด็นซิ่งยูนิต (CONDENSING UNIT) หรือ คอยล์ร้อน ซึ่งมักเป็น ส่วนที่จะจมน้ำ เพราะส่วนมากติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่น้ำท่วมถึง 29 คอยล์ร้อน (CONDENSING UNIT) การตรวจดูสภาพและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของเครื่องปรับอากาศ จากปัญหาน้ำท่วม การตรวจสอบโดยทั่วไป - ตรวจดูสภาพของฐานที่รองรับคอนเด็นซิ่งยูนิตว่าได้รับความ เสียหายหรือไม่ ภาพแสดงฐานที่รองรับคอนเด็นซิ่งยูนิต ถ้าอยู่ในสภาพที่ใช้งานไม่ได้ ให้ทำการซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ - ตรวจดูว่ามีกระแสไฟเข้าเครื่องหรือไม่ โดยตรวจเช็คจุดต่อ สายไฟภายในระบบ สภาพขั้วสายไฟว่าขันแน่นหนาหรือไม่ ตรวจดู สภาพปลั๊กเสียบว่าแน่นดีหรือไม่ ถ้าเสียหายให้ทำการซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ 30 - ตรวจดูสายไฟฟ้าว่ามีการขาดตอนหรือไม่ ถ้ามีให้ทำการซ่อม สายไฟฟ้าใหม่ - ตรวจวัดความดันของระบบน้ำยาเช็คกำลังอัดของคอมเพรสเซอร์ การทำความสะอาด เมื่อเกิดน้ำท่วม คอนเด็นซิ่งยูนิต ที่จมอยู่ในน้ำ อาจมีคราบสิ่งสกปรก เช่น ขี้ดิน ขี้โคลน ที่มากับน้ำติดเข้าไป อุปกรณ์ของชุดคอนเด็นซิ่งยูนิต เช่น ใบพัดลมระบายความร้อน แผงครีบของคอยล์ร้อน ดังนั้นเราจึงต้อง มีการล้างทำความสะอาด ด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูงและ Blower เป่าให้แห้ง ตรวจดูสภาพของคอนเด็นซิ่งยูนิต ที่ตั้งอยู่ภายนอกอาคาร สำหรับเครื่องปรับอากาศที่คอนเด็นซิ่งยูนิต ติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร และอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง ประสบปัญหาการจมน้ำและแช่น้ำอยู่เป็น เวลานาน จำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสภาพเป็นอย่างยิ่ง ว่ายังสามารถ ใช้งานได้อยู่หรือไม่ โดยผู้ที่จะทำการตรวจสภาพจะต้องทำการปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ ก่อนลงมือทำการตรวจทุกครั้ง เพื่อความ ปลอดภัยของผู้ตรวจ โดยมีสิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจดูสำหรับคอนเด็นซิ่งยูนิต ที่จมน้ำ ดังนี้ 31 คอมเพรสเซอร์ในคอนเด็นซิ่งยูนิต เมื่อจมน้ำมอเตอร์อาจจะยังใช้ได้อยู่ ต้องลองทำการตรวจสอบดู สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กจะเป็น มอเตอร์กระแสสลับเฟสเดียว ส่วนในขนาดใหญ่มักจะเป็นมอเตอร์ กระแสสลับ 3 เฟส มอเตอร์ สิ่งที่จะต้องตรวจดูคือ การวัดความต้านทานขดลวดภายในมอเตอร์ ต้องวัดได้ค่าตามค่ามาตรฐาน และตรวจเช็คสภาพของส่วนที่อยู่กับที่ หรือ สเตเตอร์ (Stator) และตัวหมุน (Rotor) ว่ามันขึ้นสนิมหรือไม่ สเตเตอร์ (STATOR) โรเตอร์ ( ROTOR ) 32 ตรวจวัดดูความต้านทานของ คาปาซิเตอร์สตาร์ท (Capacitor Start) และคาปาซิเตอร์รัน (Capacitor Run) ว่าเสียหรือไม่ ถ้าเสียก็ให้ทำการ เปลี่ยนใหม่ คาปาซิเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญในคอนเด็นซิ่งยูนิตที่สมควรจะต้องเปลี่ยน ใหม่ เนื่องจากไม่น่าจะสามารถใช้งานได้เหมือนเดิมเมื่อจมน้ำ เพื่อความ ปลอดภัยในการใช้เครื่องปรับอากาศต่อไป มีดังนี้ - ชุดป้องกันของมอเตอร์ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) และ โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Over Load Relay) ซึ่งจะทำหน้าที่ ปิด/เปิดวงจรไฟฟ้าให้กับมอเตอร์และป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเกิน เกณฑ์ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ โอเวอร์โหลดรีเลย์ 33 - รีเลย์หน่วงเวลา (Timer Relay) - เคอร์เร้นรีเลย์ (Current Relay) - มอเตอร์ของพัดลมระบายความร้อน โดยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะต้องกระทำโดยช่างผู้ชำนาญ เพื่อความ ปลอดภัยและความถูกต้องในการปฏิบัติงาน 34 5.2 ลิฟต์ (LIFT) การสำรวจเพื่อที่จะซ่อมแซมระบบลิฟต์หลังจากโดนน้ำท่วม ก่อนที่ จะเข้าทำการสำรวจระบบลิฟต์นั้นจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ที่ จะเข้าทำการสำรวจ โดยช่างผู้ที่ดูแลอาคารหรือผู้ที่มีความรู้ด้านนี้มา ทำการสำรวจอุปกรณ์บริเวณที่ถูกน้ำท่วมเบื้องต้นนั้นจะต้องทำอะไรบ้าง ดังนี้ - ก่อนที่จะเข้าสำรวจจะต้องมั่นใจว่าได้ทำการตัดกระแสไฟฟ้าที่ จ่ายให้กับระบบลิฟต์เสียก่อนเพื่อความปลอดภัย โดยให้ปิดเบรคเกอร์ เมนที่จ่ายให้กับลิฟต์ที่ห้องเครื่องลิฟต์ หรือตู้เมนห้องเครื่องไฟฟ้า 35 เบรคเกอร์ (BREAKER) - เมื่อมั่นใจแล้วว่าได้ทำการตัดกระแสไฟฟ้าแล้ว ให้เปิดประตู ชานพักชั้นล่างเพื่อเข้าทำการสำรวจบ่อลิฟต์ ถ้าตู้โดยสารจอดอยู่ชั้นล่าง ถูกน้ำท่วมถึงด้วย ให้ขึ้นไปยังห้องเครื่องลิฟต์เพื่อปลดเบรค เพื่อหมุนให้ ตู้โดยสารเลื่อนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้สามารถเข้าสำรวจบ่อลิฟต์ได้ ชุดมอเตอร์ขับลิฟต์ 36 - สำรวจดูว่าบ่อลิฟต์ยังมีน้ำขังอยู่อีกหรือไม่ ถ้ามีให้สูบน้ำออกให้ หมด แล้วทำความสะอาดอุปกรณ์ก้นบ่อลิฟต์ให้สะอาด เช่น อุปกรณ์ ลดแรงกระแทก (Buffer), สวิทซ์หยุดลิฟต์ในบ่อลิฟต์ (Limit Switch) , ชุดสลิงควบคุมอัตราเร็วของลิฟต์ (Governor), ไฟฟ้าแสงสว่างภายใน บ่อลิฟต์, ข้อต่อสายไฟต่างๆ แล้วปล่อยให้แห้งรอช่างผู้ชำนาญมา ตรวจสอบให้ละเอียดก่อนการเปิดใช้งานปกติต่อไป บ่อลิฟต์ - ถ้าลิฟต์เป็นชนิดแบบไม่มีห้องเครื่องลิฟต์ ชนิดที่ชุดมอเตอร์ ขับลิฟต์อยู่ในบ่อลิฟต์ ให้ทำความสะอาดอุปกรณ์ทั้งหมดที่โดนน้ำท่วมถึง แล้วปล่อยให้แห้ง รอช่างผู้ชำนาญมาตรวจเช็คให้ละเอียดก่อนการเปิดใช้ งานปกติต่อไป - ให้ตรวจสอบประตูลิฟต์ การเปิด-ปิด ตามร่องประตูว่ามีเศษวัสดุ เข้าไปกีดขวางหรือไม่ ให้ทำความสะอาดให้เรียบร้อย 37 ก่อนการเปิดใช้งานตามปกติ หลังจากทำความสะอาดลิฟต์ที่ โดน น้ำท่วมแล้วจะต้องให้ช่างที่มีความรู้ความชำนาญด้าน นี้ หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เข้ามาตรวจเช็คให้ละเอียดอีก ครั้งเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน 5.3 ปั๊มน้ำ (Water Pump) จากเหตุการณ์น้ำท่วม ปั๊มน้ำที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือนหลายเครื่อง ต้องแช่อยู่ในน้ำ เพราะเคลื่อนย้ายไม่ทัน พอน้ำลดก็พบว่าไม่สามารถ ใช้งานได้ดังเดิมอีกแล้ว คงจะเป็นปัญหาหนักอกหนักใจให้กับผู้ประสบภัย น้ำท่วม อีกปัญหาหนึ่ง ความเสียหาย ชำรุด ที่เกิดขึ้นกับปั๊มน้ำหลัง น้ำท่วมนั้น พิจารณาได้จากชนิดของปั๊ม โดยจะจำแนกปั๊มออกเป็น สองประเภทคือ ปั๊มน้ำที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับ และปั๊มน้ำที่มี เครื่องยนต์เป็นตัวขับ ปั๊มน้ำทั้งสองแบบนี้ โดยทั่วไปหากประชาชนทั่วไปจะซ่อมหรือ แก้ไขเอง คงจะเป็นสิ่งที่ยากสักนิด อีกทั้งยังจะอันตรายต่อผู้ซ่อม และ ผู้ใช้งานด้วยหากผู้ซ่อมไม่มีความรู้ความชำนาญพอ จึงควรจะนำส่งให้ ช่างเป็นผู้ซ่อมแซมจะดีกว่า ซึ่งปั๊มน้ำถึงน้ำจะท่วมจนใช้งานไม่ได้ แต่ก็ 38 ยังสามารถซ่อมและนำกลับมาใช้งานใหม่ได้อีก ไม่ถึงขั้นต้องทิ้งไปเสียเลย เพื่อเป็นแนวทางในการส่งซ่อมปั๊มน้ำ จากสาเหตุน้ำท่วมควรจะทราบถึง อุปกรณ์ประกอบในตัวปั๊มน้ำที่จะชำรุดจากเหตุการณ์น้ำท่วมนี้ ดังนี้ - ปั๊มน้ำ มีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับ อุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหายหลักๆ ของปั๊มชนิดนี้ คือ มอเตอร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของปั้ม (ถังแรงดันลม) จะเห็นว่าอุปกรณ์ ทั้งคู่นี้ มีอุปกรณ์ทางไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ประกอบอยู่ ซึ่งจะเสียหายมาก จากน้ำและฝุ่นตะกอนที่เกาะอุปกรณ์เหล่านี้ จนไม่สามารถใช้งานได้ ควร ได้รับการซ่อมแซมจากช่างเป็นพิเศษ ในส่วนอุปกรณ์อื่นๆของปั้มชนิดนี้ ทางด้านกลไกทางกล หากตรวจสอบแล้วอยู่ในสภาพที่ดี ไม่ผุกร่อน ก็ เพียงแต่ทำความสะอาดคราบตะกัน,ฝุ่นผง และอัดน้ำมันหล่อลื่นลงไปก็ จะพร้อมประกอบใช้งานต่อไป 39 - ปั๊มน้ำที่มีเครื่องยนต์เป็นตัวขับ ปั๊มน้ำชนิดนี้จะมีเครื่องยนต์เป็นตัวขับปั๊มให้ทำงาน ความเสียหาย จากน้ำท่วมจะแยกเป็นสองส่วนคือ ส่วนของเครื่องยนต์ขับปั๊ม อีกส่วน เป็นตัวปั๊ม หากเครื่องยนต์ไม่ทำงานสตาร์ทไม่ติดก็ต้องส่งซ่อมในส่วนนี้ ส่วนตัวปั๊มน้ำคงไม่ได้รับความเสียหายอะไรมากนักเพียงแต่ตรวจสอบ สภาพและทำความสะอาดและอัดน้ำมันหล่อลื่นลงไป การซ่อมอุปกรณ์ เหล่านี้ควรซ่อมโดยผู้มีความรู้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน 40
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น